ในโลกที่เทคโนโลยีขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรที่สามารถปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาสร้างคุณค่าได้จะเป็นผู้ที่อยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) และการนำ AI มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จึงได้จัดงาน ttb spark REAL change พร้อมด้วยงานเสวนา Spark Talk ภายใต้หัวข้อ “Digital Transformation: Spark the Future” เพื่อให้แนวคิดและแนวทางในการนำองค์กรไปสู่โลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแม่ทัพใหญ่จากทีทีบี นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ได้เชิญผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน Digital Transformation ของประเทศไทย…
AI
เตรียมพบกับการปฏิวัติแห่งยุค AI ในงาน COMPUTEX 2025
งานจัดแสดงเทคโนโลยีระดับโลก COMPUTEX 2025 เตรียมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 พฤษภาคม ณ ศูนย์นิทรรศการ Taipei Nangang ฮอลล์ 1 และฮอลล์ 2 ภายใต้ธีม “AI Next” ซึ่งจะเป็นการรวบรวมสุดยอดเทคโนโลยี AI จากผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก เปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์แล้ววันนี้ ขอเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทั่วโลกเข้าร่วมงาน ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก เข้าร่วมจัดแสดงเทคโนฯ พร้อมกำหนดอนาคต AI “COMPUTEX 2025” เป็นงานแสดงเทคโนโลยีและนิทรรศการชั้นนำระดับโลก สำหรับ AIoT และสตาร์ทอัพ โดยมี 3 ธีม หลัก ได้แก่ AI & Robotics, Next-Gen Tech และ Future…
ก้าวสู่ ‘ความปกติใหม่’ ของการสร้างนวัตกรรมต่อเนื่อง ด้วยการใช้ AI เสริมการทำงานด้านต่าง ๆ : RedHat
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ก้าวข้ามจากจินตนาการในนิยายมาสู่ความเป็นจริงในชีวิตประจำวันและเข้ามามีบทบาททุกหนแห่งในชั่วข้ามคืน และนับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่มีอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการประเมินพบว่าโปรเจกต์ AI มากกว่า 80% ต้องเผชิญกับความล้มเหลว นั่นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความไม่สอดคล้องกัน ระหว่างแนวคิดของผู้คนและองค์กรเกี่ยวกับ AI และ ML กับแนวทางที่ผู้คนและองค์กรเหล่านั้นใช้ในการก้าวสู่ยุคแห่งนวัตกรรม หากเป็นเช่นนั้น องค์กรจะหลีกเลี่ยงความล้มเหลวและลดความเสี่ยงในการทำโปรเจกต์ AI ได้อย่างไร สิ่งที่ควรทำก่อนเริ่มโปรเจกต์ AI ที่ประสบความสำเร็จ ทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของ AI วางแนวทางการใช้งาน AI ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านเป้าหมายของธุรกิจ ศึกษาการใช้ AI จากธุรกิจอื่น ๆ รวบรวมทีม AI จากบุคลากรที่อยู่ในสายงานต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน ประเมินความพร้อมด้าน AI ภายในองค์กร พัฒนาวัฒนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรม ทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของ AI เรามักเข้าใจกันว่า Generative AI (gen AI) เก่งมาก รอบรู้ไปทุกเรื่อง และเข้าใจความหมายของ คอนเทนต์ที่ตัวเองสร้างขึ้น…
โจ ไช่ ประธานของ Alibaba กับ มุมมองด้านการพัฒนา AI
นายโจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กรุ๊ป แลกเปลี่ยนมุมมองของอาลีบาบาเกี่ยวกับอนาคตของ AI ในระหว่างการประชุมสุดยอด World Government Summit เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยโจได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในโอกาสเดียวกัน เกี่ยวกับความสำคัญของโมเดลโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ ที่สามารถมอบ AI ที่ทุกคนใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางหรือความรู้ทางเทคนิคใด ๆ และการคาดการณ์ทิศทางที่จะทำให้การพัฒนา AI ก้าวสู่การนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยมีมุมมองสำคัญดังนี้ นักพัฒนาซอฟต์แวรจะคิดถึงแอปพลิเคชันที่นำไปใช้งานได้จริง และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้โมเดลและเอเจนต์ AI เฉพาะทาง และ เจาะจงเฉพาะงาน ขยายตัวเร็วขึ้น เงินทุนจะไปยังบริษัทต่าง ๆ ที่สร้างนวัตกรรมด้วยการเทรนและการนำ AI ไปใช้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า…
Telenor Asia เผยไทยเชื่อถือใน AI มากที่สุดในภูมิภาค ผลจากการรายงานล่าสุด
อุตสาหกรรมและเทรนด์ด้านการใช้งานด้านดิจิทัลและ AI ที่กำลังขับเคลื่อนตลาดและผู้บริโภคในประเทศไทย พฤติกรรมและความรู้สึกของผู้ใช้งานมือถือชาวไทยต่อความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลในโลกดิจิทัล ช่องทางและโอกาสที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากการที่ AI เข้ามาเป็นส่วนขับเคลื่อนอย่างมาก ณ ปัจจุบัน ต่อยอดสู่การใช้งานอันชาญฉลาดและปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ยังยืน ผู้ใช้งานชาวไทยเชื่อถือในการใช้งาน AI เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใช้งานจากตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค อย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย นอกจากนี้ ชีวิตของคนไทยนั้นขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลอย่างมาก ถือว่าเป็นตลาดอันดับต้น ๆ ที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…
“ความพร้อมด้าน AI ในไทยยังไม่คืบหน้า” CISCO ตีแผ่ผลสำรวจล่าสุด ชี้ลงทุนเยอะ ผลตอบแทนน้อย
ซิสโก้ (Cisco) ผู้นำระดับโลกด้านเครือข่ายและความปลอดภัย เปิดเผย ‘ผลการศึกษาจากดัชนีความพร้อมด้าน AI ประจำปี 2024’ (Cisco 2024 AI Readiness Index) พบว่าองค์กรในประเทศไทยเพียง 21% เท่านั้นที่มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 20% ในปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญในการนำ AI มาใช้ ติดตั้งและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เมื่อพิจารณาถึงการพัฒนาของตลาดที่รวดเร็วและผลกระทบสำคัญที่คาดว่า AI จะมีต่อการดำเนินธุรกิจ ช่องว่างของความพร้อมนี้จึงเป็นประเด็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ดัชนีนี้จัดทำขึ้นจากการสำรวจแบบ double-blind กับผู้บริหารระดับสูง3,660 คน จากองค์กรที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไป ครอบคลุม 14 ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน โดยผู้บริหารเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบการผสานและติดตั้ง AI ในองค์กรของตน โดยดัชนีความพร้อมด้าน AI วัดผลจาก 6 แกนหลักสำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร การดำเนินการด้วยความเร่งด่วน AI ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ และบริษัทต่างๆ กำลังเผชิญกับความเร่งด่วนที่เพิ่มขึ้นในการนำ AI มาใช้ สำหรับประเทศไทยบริษัททั้งหมด (100%) รายงานว่ามีความเร่งด่วนในการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยมีซีอีโอและทีมผู้บริหารเป็นแรงขับเคลื่อนหลักนอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ยังทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากให้กับ AI โดย 53% จัดสรรงบประมาณด้านไอทีถึง 10-30% สำหรับการนำ AI มาใช้ แม้จะมีการลงทุนด้าน AI อย่างมากในด้านกลยุทธ์สำคัญ เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล แต่หลายบริษัทรายงานว่า “ผลตอบแทนจากการลงทุน” เหล่านี้ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในขณะที่บริษัทต่างๆ เร่งเดินหน้าสู่การใช้งาน AI สิ่งสำคัญคือต้องมีแนวทางการนำไปใช้ที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงความมุ่งมั่นด้าน AI เข้ากับความพร้อมขององค์กร ดัชนีความพร้อมด้าน AI ประจำปีนี้ชี้ให้เห็นว่า เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องมี‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย’ ซึ่งสามารถรองรับความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ พร้อมด้วยมุมมองที่ชัดเจนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ทั้งหมดนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคน“ ผลการศึกษาที่สำคัญ ความพร้อมด้านAI หยุดนิ่งในหลายด้าน โดยพบว่า ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ เป็นจุดที่น่ากังวล: บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญความท้าทายด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีช่องว่างในหลายด้าน ทั้งประสิทธิภาพการประมวลผล เครือข่ายศูนย์ข้อมูล และความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีเพียง33% ขององค์กรที่มี GPU ที่จำเป็นสำหรับรองรับความต้องการด้าน AI ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และมีเพียง 47% ที่มีขีดความสามารถในการปกป้องข้อมูลในโมเดล AI ด้วยการเข้ารหัสแบบครบวงจร (end-to-end encryption) การตรวจสอบความปลอดภัย การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและการตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบทันที บริษัทต่างๆลงทุนแล้ว แต่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง: ในปีที่ผ่านมา AI เป็นรายจ่ายที่องค์กรในประเทศไทยให้ความสำคัญ โดย 53% จัดสรรงบประมาณด้านไอที 10-30% สำหรับโครงการด้าน AI โดยการลงทุนด้าน AI มุ่งเน้นใน 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (59% ของบริษัทอยู่ในระดับการใช้งานเต็มรูปแบบ/ขั้นสูง) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (45%) และการบริหารการตลาดและการขาย(43%) โดยผลลัพธ์หลัก 3 ประการที่องค์กรต้องการบรรลุ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ กระบวนการ การดำเนินงาน และความสามารถในการทำกำไร; ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขัน; และการสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ แม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นแต่โดยเฉลี่ย 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่ายังไม่เห็นผลลัพธ์ หรือผลลัพธ์ที่ได้ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ การช่วยเหลือ หรือการทำงานอัตโนมัติของกระบวนการ หรือการดำเนินงานในปัจจุบัน แรงกดดันที่ต่อเนื่องเพื่อความสำเร็จ:ผู้บริหารระดับสูงเพิ่มแรงกดดันและความเร่งด่วนในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ โดยกว่าครึ่ง (59%) รายงานว่า ซีอีโอและทีมผู้บริหารเป็นผู้ผลักดันการนำ AI มาใช้ ตามมาด้วยผู้บริหารระดับกลาง (49%) และคณะกรรมการบริษัท (44%) ในขณะที่เวลาเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจในประเทศไทยกำลังเร่งความพยายามและเพิ่มการลงทุนเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคและรับการเปลี่ยนแปลงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่น่าสนใจคือ หนึ่งในห้า (23%) ขององค์กรวางแผนที่จะจัดสรรงบประมาณด้านไอทีมากกว่า 40% สำหรับการลงทุนด้าน AI ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปัจจุบันที่มีเพียง 5% ของบริษัทที่จัดสรรงบประมาณในสัดส่วนใกล้เคียงกันให้กับ AI บริษัทต่างๆ ตระหนักดีว่าต้องดำเนินการเพิ่มเพื่อให้มีความพร้อมในการใช้ประโยชน์จาก AI อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่า 57% ของบริษัทในประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับ การปรับปรุงความสามารถในการขยายระบบ ความยืดหยุ่น และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทตระหนักถึงช่องว่างที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อยกระดับความพร้อมด้าน AI โดยรวม การจัดการช่องว่างด้านทักษะและบุคลากร แม้จะมีความท้าทายเฉพาะในแต่ละด้าน แต่พบประเด็นปัญหาร่วมกันอย่างชัดเจน นั่นคือ “การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ” บริษัทต่างๆ ชี้ว่านี่คือความท้าทายอันดับต้นๆ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล และการกำกับดูแล สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการมีผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการด้าน AI เกี่ยวกับ ซิสโก้ (Cisco) Cisco…