งานด้านความปลอดภัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานเรื่องความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงไซเบอร์ แต่แนวทางนี้ยังไม่ค่อยได้ผลกับการหยุดพฤติกรรมอันตรายต่าง ๆ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ พบว่า 93% ของพนักงานรู้ดีว่าตนเองกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรจากพฤติกรรมบางอย่าง นอกจากนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจพนักงานถึง 74% ยอมละเมิดนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าพนักงานมีเจตนาร้ายหรือไม่สนใจในความปลอดภัย แต่พวกเขาเพียงคุ้นชินกับการเลี่ยงมาตรการควบคุมเหมือนกับหาทางลัดในการทำงานประจำวันให้เสร็จไวขึ้นโดยออกแรงน้อยที่สุด หนึ่งในสามเหตุผลสำคัญที่แต่ละคนพูดถึงพฤติกรรมประเภทนี้คือการขาดสำนึกถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ปัญหานี้จำเป็นต้องแก้ไขในเชิงวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในองค์กร ผู้บริหารด้านความปลอดภัยต้องปรับวิธีการเข้าถึงพนักงานด้วยการหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรมมากพอ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นอันตราย นอกเหนือจากการลงโทษทางตรง โดยปรับไปใช้กลไกเชิงวัฒนธรรมแทน อาทิ เพิ่มแรงกดดันจากเพื่อนร่วมงานในการบีบบังคับ ตัวอย่างที่น่าสนใจที่สหรัฐฯ ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกับแคมเปญ…
Gartner
AI เปลี่ยนเกม SOC ได้แค่ไหน? เมื่ออัตโนมัติไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจะทำงานอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้หรือไม่? ภัยคุกคามไซเบอร์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กำลังสร้างแรงกดดันอย่างหนักให้กับทีมปฏิบัติการด้านความปลอดภัย เนื่องจากการขยายขนาดการทำงานเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลทั้งบุคลากร เทคโนโลยี และงบประมาณ หากปรับตัวได้ไม่ทันกับการแจ้งเตือนปริมาณมหาศาล และสิ่งที่ต้องทำเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น องค์กรอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น และอาจส่งผลให้ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจำนวนมากหยุดชะงัก ระบบอัตโนมัติ (Automation) มอบโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทีมงานเพื่อรับมือกับความท้าทายได้จริง แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายทั้งหมด องค์กรไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือปรับขนาดการป้องกันได้เพียง “ติดตั้งระบบอัตโนมัติ” ในศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย (SOC) เท่านั้น เพราะภัยคุกคามและเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ข้อกำหนดในการทำงานของมนุษย์เปลี่ยนตามไปด้วย และยังไม่สามารถลดบทบาทของมนุษย์ออกไปได้อย่างสิ้นเชิง ระบบอัตโนมัติที่ทำงานสมบูรณ์แบบนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะจะต้องมีความแม่นยำอย่างไร้ที่ติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นหมายความถึงว่าเมื่อทีมจัดการทำให้บางอย่างให้เป็นอัตโนมัติแล้ว…
Gartner เปิดโปง! อนาคตไซเบอร์ปี 2568 – AI เปลี่ยนทุกอย่าง, ความปลอดภัยต้องคิดใหม่!
การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญในปี 2568 โดยเทรนด์เหล่านี้เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของ generative AI, การกระจายศูนย์ทำงานดิจิทัล, การพึ่งพากันในห่วงโซ่อุปทาน, การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ, การขาดบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และภูมิทัศน์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Alex Michaels นักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้นำด้านความปลอดภัยและการจัดการความเสี่ยง หรือ Security and risk management (SRM) กำลังเผชิญกับความท้าทายและโอกาสที่หลากหลายพร้อมกันในปีนี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเปลี่ยนผ่านและสร้างความยืดหยุ่นให้เกิดขึ้นในองค์กร ความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองด้านนี้ขององค์กรมีความสำคัญมากกว่าแค่การสร้างนวัตกรรม แต่เพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรมเหล่านั้นมีความปลอดภัยและยั่งยืนในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว” 6 เทรนด์สำคัญต่อไปนี้ส่งผลกระทบวงกว้างครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม: เทรนด์ 1: GenAI มีผลต่อการพัฒนาโปรแกรมความปลอดภัยข้อมูล (GenAI Driving Data Security Programs) ความพยายามและงบประมาณส่วนใหญ่ด้านความปลอดภัยมักมุ่งเน้นไปที่การป้องกันข้อมูลที่มีโครงสร้าง…
Gartner : เตือนรับมือการขาดแคลนพลังงานจากการใช้ AI ในอนาคต
การเติบโตอย่างรวดเร็วของไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ ๆ เพื่อรองรับการใช้งาน AI และ GenAI กำลังก่อให้เกิดความต้องการพลังงานที่ไม่มีที่สิ้นสุด เกินกว่าความสามารถในการจ่ายไฟของผู้ให้บริการไฟฟ้าในปัจจุบัน จากการคาดการณ์ของการ์ทเนอร์ระบุว่าในอีกสองปีข้างหน้าอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์อาจเติบโตสูงถึง 160% และการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้อาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้งานของพลังงานและนำไปสู่ภาวะขาดแคลนไฟฟ้า การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในอีกสองปี (ค.ศ. 2027) 40% ของดาต้าเซ็นเตอร์ AI ที่มีอยู่จะถูกจำกัดการดำเนินงานด้วยปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งจะสร้างความท้าทายอย่างมากสำหรับองค์กรที่วางแผนจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านคลาวด์ โดยราคาอาจเพิ่มขึ้น 10 ถึง 100…
Gartner เผยรายได้ชิปทั่วโลกปี 2567 เติบโต 18%
การ์ทเนอร์เผยรายได้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกในปี 2567 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 626 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 18.1% จากปี 2566 พร้อมคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 705 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จอร์จ บร็อคเคิลเฮิร์ส รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ชิป GPUs และโปรเซสเซอร์ AI ที่ใช้ในแอปพลิเคชันของดาตาเซ็นเตอร์ (สำหรับ Servers และ…
Gartner คาดการณ์มูลค่าใช้จ่าย IT ทั่วโลกปีนี้จะเติบโต 9.8%
การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2568 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 9.8% จากปี 2567 คิดเป็นมูลค่ารวม 5.61 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับประเทศไทย การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีมูลค่าการใช้จ่ายไอทีสูงเกือบ 996,000 ล้านบาท (หรือประมาณ 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้น 7.9% จากปี 2567…