การ์ทเนอร์เผยแนวโน้มสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของการนำคลาวด์มาใช้งานช่วง 4 ปี ข้างหน้านี้ ประกอบด้วย Cloud Dissatisfaction, AI/Machine Learning (ML), Multicloud, Sustainability, Digital Sovereignty และ Industry Solutions Joe Rogus ผู้อำนวยการฝ่ายให้คำปรึกษาของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “แนวโน้มเหล่านี้เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงของวิธีการที่คลาวด์เปลี่ยนผ่านจากตัวช่วยด้านเทคโนโลยีไปเป็นปัจจัยขับเคลื่อน และความจำเป็นทางธุรกิจสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ โดยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ คลาวด์จะยังเดินหน้าปลดล็อกโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ มอบความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน และนำเสนอแนวทางบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ“ การ์ทเนอร์เปิด 6 แนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของคลาวด์ ส่งผลให้เกิดวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่เป็นดิจิทัลโดยธรรมชาติและสร้างผลกระทบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง…
Gartner
AI เฉพาะงานมาแรง! Gartner ชี้อีก 2 ปี โมเดลเล็กเฉพาะทางจะถูกใช้มากกว่า LLMs ถึง 3 เท่า
การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในอีกสองปีข้างหน้า (พ.ศ. 2570) องค์กรต่าง ๆ จะนำโมเดล AI ขนาดเล็กเฉพาะงานมาใช้ โดยมีปริมาณการใช้งานมากกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ใช้โดยทั่วไป หรือ LLMs อย่างน้อยสามเท่า โมเดลภาษาขนาดใหญ่ทั่วไปแม้จะมีความสามารถด้านภาษาที่แข็งแกร่ง แต่กลับมีความแม่นยำในการตอบสนองลดลงเมื่อต้องทำงานที่ต้องการบริบทเฉพาะทางธุรกิจ Sumit Agarwal รองประธานนักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความหลากหลายของงานในกระบวนการทางธุรกิจและความต้องการความแม่นยำที่มากขึ้นกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้โมเดลเฉพาะทางที่ได้รับการปรับแต่งสำหรับฟังก์ชันเฉพาะหรือข้อมูลในโดเมนนั้น ๆ โดยโมเดล AI ขนาดเล็กเฉพาะงานเหล่านี้ให้การตอบสนองที่เร็วกว่าและใช้พลังการประมวลผลน้อยกว่า ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานและการบำรุงรักษา” องค์กรสามารถปรับแต่งโมเดล LLMs สำหรับงานเฉพาะได้ โดยใช้เทคนิค Retrieval-Augmented Generation (RAG) หรือ Fine-Tuning เพื่อสร้างโมเดลเฉพาะทาง ในกระบวนการนี้ ข้อมูลขององค์กรจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สร้างความแตกต่าง จำเป็นต้องมีการเตรียม ตรวจสอบคุณภาพ กำหนดเวอร์ชัน และการจัดการข้อมูลโดยรวม เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้รับการจัดโครงสร้างมาอย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการในการ Fine-Tuning ซึ่งเป็นกระบวนการปรับแต่งโมเดล AI ด้วยข้อมูลเฉพาะด้าน …
องค์กรเร่งปรับกลยุทธ์ IT สู่ความยั่งยืน — ลดต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่น รับแรงกดดัน
เมื่อแรงกดดันด้านกฎระเบียบเข้มงวดขึ้นและราคาพลังงานพุ่งทะยาน ทำให้องค์กรต้องหันมาทบทวนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและการลงทุนด้านเทคโนโลยีเร็วกว่าที่คาดไว้ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ พบว่า 79% ของซีอีโอในเอเชียแปซิฟิกมองว่าความยั่งยืนเป็นโอกาสของการเติบโตทางธุรกิจที่โดดเด่น เมื่อผู้บริหารปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ระยะยาวโดยที่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมยังเป็นหนึ่งในหัวใจหลักที่จะกำหนดกรอบการแข่งขัน การตัดสินใจว่าเราควรลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ยั่งยืนเมื่อใดและอย่างไร จึงเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญด้วยเหตุที่ความยั่งยืนส่งผลต่อทุกด้านขององค์กร ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ยั่งยืนและบริการคลาวด์เผยให้เห็นข้อได้เปรียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน แต่มักถูกประเมินค่าของคุณประโยชน์ทางธุรกิจต่ำเกินไป หลายคนยังมองความยั่งยืนผ่านมุมมองผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการปล่อยคาร์บอนและการลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติการ (Infrastructure and operations หรือ I&O) ต้องก้าวข้ามการตอบสนองความคาดหวังและพิสูจน์คุณค่าทางธุรกิจของความพยายามด้านความยั่งยืนของพวกเขา เพื่อปลดล็อกคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยั่งยืน (Sustainable IT) อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้นำ I&O จัดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ และก้าวข้ามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงประโยชน์ทางอ้อม อาทิ ช่วยประหยัดต้นทุนทางด้านนวัตกรรมและการจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยวางแนวทาง Sustainable…
Gartner เตือน! AI Agents ลดเวลาเจาะบัญชี 50% ใน 2 ปีข้างหน้า
การ์ทเนอร์คาดการณ์ในอีกสองปีข้างหน้านี้ (พ.ศ.2570) AI Agents จะลดเวลาในการโจมตีช่องโหว่ของบัญชีลง 50% Jeremy D’Hoinne รองประธานนักวิเคราะห์ การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การยึดบัญชี หรือ ATO ยังคงเป็นการโจมตีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากข้อมูลการยืนยันตัวตนที่ยังไม่แข็งแรงพอ เช่น รหัสผ่าน ที่ถูกรวบรวมด้วยวิธีการต่าง ๆ และการรั่วไหลของข้อมูล การฟิชชิ่ง การหลอกลวงทางวิศวกรรมสังคมหรือ Social…
Gartner : ปลุกสำนึกพนักงานให้เห็นความสำคัญความเสี่ยงไซเบอร์มากขึ้น
งานด้านความปลอดภัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานเรื่องความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงไซเบอร์ แต่แนวทางนี้ยังไม่ค่อยได้ผลกับการหยุดพฤติกรรมอันตรายต่าง ๆ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ พบว่า 93% ของพนักงานรู้ดีว่าตนเองกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรจากพฤติกรรมบางอย่าง นอกจากนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจพนักงานถึง 74% ยอมละเมิดนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าพนักงานมีเจตนาร้ายหรือไม่สนใจในความปลอดภัย แต่พวกเขาเพียงคุ้นชินกับการเลี่ยงมาตรการควบคุมเหมือนกับหาทางลัดในการทำงานประจำวันให้เสร็จไวขึ้นโดยออกแรงน้อยที่สุด หนึ่งในสามเหตุผลสำคัญที่แต่ละคนพูดถึงพฤติกรรมประเภทนี้คือการขาดสำนึกถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ปัญหานี้จำเป็นต้องแก้ไขในเชิงวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในองค์กร ผู้บริหารด้านความปลอดภัยต้องปรับวิธีการเข้าถึงพนักงานด้วยการหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรมมากพอ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นอันตราย นอกเหนือจากการลงโทษทางตรง โดยปรับไปใช้กลไกเชิงวัฒนธรรมแทน อาทิ เพิ่มแรงกดดันจากเพื่อนร่วมงานในการบีบบังคับ ตัวอย่างที่น่าสนใจที่สหรัฐฯ ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกับแคมเปญ…
AI เปลี่ยนเกม SOC ได้แค่ไหน? เมื่ออัตโนมัติไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจะทำงานอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้หรือไม่? ภัยคุกคามไซเบอร์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กำลังสร้างแรงกดดันอย่างหนักให้กับทีมปฏิบัติการด้านความปลอดภัย เนื่องจากการขยายขนาดการทำงานเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลทั้งบุคลากร เทคโนโลยี และงบประมาณ หากปรับตัวได้ไม่ทันกับการแจ้งเตือนปริมาณมหาศาล และสิ่งที่ต้องทำเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น องค์กรอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น และอาจส่งผลให้ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจำนวนมากหยุดชะงัก ระบบอัตโนมัติ (Automation) มอบโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทีมงานเพื่อรับมือกับความท้าทายได้จริง แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายทั้งหมด องค์กรไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือปรับขนาดการป้องกันได้เพียง “ติดตั้งระบบอัตโนมัติ” ในศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย (SOC) เท่านั้น เพราะภัยคุกคามและเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ข้อกำหนดในการทำงานของมนุษย์เปลี่ยนตามไปด้วย และยังไม่สามารถลดบทบาทของมนุษย์ออกไปได้อย่างสิ้นเชิง ระบบอัตโนมัติที่ทำงานสมบูรณ์แบบนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะจะต้องมีความแม่นยำอย่างไร้ที่ติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นหมายความถึงว่าเมื่อทีมจัดการทำให้บางอย่างให้เป็นอัตโนมัติแล้ว…