เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันประสิทธิภาพสูง เปิดตัวโซลูชันใหม่สำหรับการพัฒนาแบบคลาวด์เนทีฟ “OutSystems Developer Cloud” (หรือ ODC) ที่งานประชุมด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์ NextStep 2022 โดย ODC (เดิมใช้โค้ดเนมว่า “Project Neo”) เป็นโซลูชัน Low-Codeประสิทธิภาพสูงสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟ และ ODC ยังกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการพัฒนาแบบ Low-Codeโดยนำเสนอความสามารถระดับองค์กรที่จำเป็นสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ ODC…
outsystems
“GC” x “OutSystems” นำเทคโนโลยี Low-Code เร่งทรานฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ของประเทศไทย มุ่งเดินหน้าสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมมือกับ OutSystems นำเทคโนโลยี Low-Code ประสิทธิภาพสูงมาพัฒนาแอปพลิเคชันและสร้างระบบ Digital เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความเป็นอัจฉริยะและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พาองค์กรไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ในปี 2561 บริษัทฯ…
องค์กรควรตั้งเป้าลด “หนี้ทางเทคนิค” ให้เป็นศูนย์หรือไม่?
ถ้าธุรกิจคุณอยู่ในแวดวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับหนี้ทางเทคนิค (หรือ Technical Debt) ซึ่งการที่เราต้องคอยดูแลรักษาโค้ดที่มีอยู่หรือปรับปรุงแอปพลิเคชันรุ่นเก่านั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระการทำงานที่เป็นผลมาจากหนี้ทางเทคนิคขององค์กร กล่าวง่าย ๆ ก็คือหนี้ทางเทคนิคหมายถึงการเขียนโค้ดโดยใช้วิธีลัดในอดีต ที่ส่งผลมาถึงอนาคตทำให้คุณต้องแก้ไขอดีตของโค้ดนั้น ลองจินตนาการดูว่าจะน่าหวั่นใจเพียงใดหากองค์กรต้องรื้อแก้โค้ดบางส่วนที่มีอยู่ และยังต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันจะทำงานได้ตามที่คาดหวัง และยังต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโค้ด “เก่า” ที่นักพัฒนาคนอื่น ๆ เคยเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน แค่นึกถึงงานยุ่งยากมากมายที่รออยู่ ก็รู้สึกหมดแรงแล้ว! แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจซึ่งเกิดจากการที่ใช้วิธีลัดและเกิดหนี้ทางเทคนิค: ขั้นตอนการพัฒนาช้าลง: ถ้าองค์กรมีหนี้ทางเทคนิคจำนวนมาก…
7 เทรนด์การพัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2565 และเหตุผลที่องค์กรควรเปลี่ยนตาม
ทุกวันนี้เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับคำกล่าวที่ว่า “ทุกบริษัทล้วนเป็นบริษัทซอฟต์แวร์” แต่ในความเป็นจริงแล้ว การนำเสนอซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพนับเป็นเรื่องยาก เพราะกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และมีบริการคลาวด์ใหม่ ๆ ผุดขึ้นอย่างไม่รู้จบ แต่จำนวนวิศวกรด้านซอฟต์แวร์กลับมีไม่เพียงพอ โดยไอดีซีประเมินว่าในปัจจุบันมีการขาดแคลนนักพัฒนาที่เป็นพนักงานประจำราว 1.4 ล้านคน (ปี 2564) และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 4 ล้านคนในเวลาเพียงแค่ 4 ปี ขณะเดียวกัน วิวัฒนาการของการทำงานในรูปแบบไฮบริดและการเร่งปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก…
วางกลยุทธ์ด้าน Multiexperience ให้ประสบความสำเร็จ: ธุรกิจควรพิจารณา 3 เรื่องสำคัญ
ความสามารถในการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่น่าดึงดูดใจนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่นำเสนอให้แก่ลูกค้าโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายฐานลูกค้า หรือประสบการณ์ของพนักงานซึ่งจะช่วยดึงดูดบุคลากรใหม่ ๆ และรักษาบุคลากรที่มีอยู่เดิมเอาไว้ ก่อนหน้านี้ การกำหนดกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ดิจิทัลอาจเป็นเพียงแค่การเลือกระหว่างแพลตฟอร์มมือถือหรือเว็บไซต์ แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้ซอฟต์แวร์คาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและไร้รอยต่อผ่านช่องทาง (Channel) อุปกรณ์ (Device) และจุดสัมผัส (Touchpoint) ที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ใช้งานในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องคิดให้ไกลเกินกว่ากลยุทธ์ Multichannel หรือแม้กระทั่ง Omnichannel โดยหันมาใช้แนวทางการนำเสนอประสบการณ์ที่หลากหลาย หรือ Multiexperience…
เหตุใดต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจ Healthcare
ปี 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติดิจิทัลที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกระแสการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลนี้คือ บริการสาธารณสุข ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องรีบเร่งมองหาโซลูชันที่จะรองรับการให้บริการทางการแพทย์ผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ เมื่อการแพร่ระบาดทั่วโลกเริ่มต้นขึ้น การขยายการให้บริการได้อย่างรวดเร็วฉับพลันกลายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับสถานพยาบาลและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทำให้จำเป็นต้องมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบงานอัตโนมัติ ระบบข้อมูล และบอทต่าง ๆ ที่รองรับการสนทนามาใช้งาน นับเป็นการยกระดับการใช้งานระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างฉับไวและปรับปรุงประสบการณ์ของผู้รับบริการ และไม่ว่าความคาดหวังของลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร…