8 พฤษภาคม 2563 – วิกฤตการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนการสอนของครูและนักเรียนภาคธุรกิจกำลังดิ้นรนหาทางรอด ขณะเดียวกัน ก็ห่วงกังวลต่อความเสี่ยงภัยด้านสุขภาพและสวัสดิการ

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ในขณะที่ทุกประเทศเร่งดำเนินมาตรการเพื่อหยุดยั้งการระบาดโรคโควิด-19 ทั้งมาตรการให้คนอยู่บ้านหรือการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทำให้การเชื่อมต่อการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยสำคัญ มีความต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นในการให้บริการโทรคมนาคม มีผลต่อการคำนึงในการให้บริการโครงข่ายของผู้ประกอบการทั่วโลก พร้อมทั้งภารกิจได้เพิ่มและเติบโตขึ้น”

ดีแทคนำเอาทรัพยากรและศักยภาพ ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของไทย มาช่วยสนับสนุนสังคมและภาคธุรกิจใน 5 ภารกิจหลัก ดังนี้

• มอบฟรีดาต้าและข้อเสนอแพ็กเกจพิเศษเพื่อธุรกิจและการใช้งานทั่วไป

• ลงทุนต่อเนื่องพัฒนาโครงข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และขยายพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ

• ความพร้อมในการร่วมใช้ข้อมูลการใช้มือถือ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ในการคาดการณ์และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส

• “ดีแทคร่วมแรงใจ Fight COVID-19” โครงการเพื่อภารกิจสำคัญในการร่วมต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

• ลดความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ในการกลุ่มเปราะบาง อันเนื่องมาจากการใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียน ด้วยการจัดค่ายแกนนำเยาวชนอินเทอร์เน็ต dtac Young Safe Internet Leader Camp Version 2.0  (YSLC)

มอบฟรีดาต้าและข้อเสนอแพ็กเกจพิเศษเพื่อธุรกิจและการใช้งานทั่วไป

ดีแทคได้มอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับแอปที่ช่วยในการทำงาน เช่น Zoom, LINE และ Microsoft Office พร้อมประกันโควิด-19 ฟรี และการโทรไปยังสายด่วนข้อมูลฟรี รวมทั้ง บริการช่วยเหลือต่างๆ ให้ผู้ใช้บริการระบบเติมเงินที่มีมากกว่า 10 ล้านราย ดีแทคยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ในการนำเสนอโซลูชั่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้คุณครู นักเรียน และบุคลากรด้านการศึกษามากกว่า 10 ล้านคน สามารถเชื่อมต่อถึงกันและเข้าถึงแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของลูกค้าองค์กรและ SME ดีแทคได้แนะนำโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและดำเนินธุรกิจต่อไป จากการสำรวจลูกค้าองค์กรและ SME กว่า 700 คน และกว่า 50 องค์กรถึงความต้องการในช่วงวิกฤตโควิด–19 พบว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก ไม่มีโซลูชั่นที่พร้อมรองรับการทำงานที่บ้าน ดีแทคจึงได้ตอบสนองความต้องการในเวลานี้ด้วยโซลูชั่นทางรอดธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าองค์กรมีความมั่นใจว่าจะสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพ เสถียร และปลอดภัย โดยไม่กระทบความสามารถในการให้บริการลูกค้า

ลงทุนต่อเนื่องพัฒนาโครงข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และขยายพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ                      

ในทุกๆ วันจะมีทีมวิศวกรโครงข่ายของดีแทคมากกว่า 1,000 คนทำงานภาคสนามร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีของเรา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสัญญาณให้เพิ่มขึ้น 3 เท่า และสร้างความมั่นใจว่าโครงข่ายจะรองรับการใช้งานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ดีแทคให้การสนับสนุนการขยายโครงข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และบริการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการขยายสถานีฐาน และซ่อมบำรุงกรณีฉุกเฉินในพื้นที่ที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ช่วยเหลือ สถานีตำรวจ หน่วยงานราชการที่สำคัญ และให้ความสำคัญกับการใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 เช่น แพทย์ พยาบาล และบุคคลากรด้านการแพทย์

ดีแทคได้ลงทุนอย่างอย่างต่อเนื่อง แม้ขณะนี้จะมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19 การลงทุนได้สร้างความมั่นใจว่าโครงข่ายของดีแทคจะมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความเชื่อมั่นในการใช้งาน พร้อมทั้งรองรับการเติบโต และพัฒนาสู่บริการต่างๆ ที่สำคัญ

ความพร้อมในการร่วมใช้ข้อมูลการใช้มือถือ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ในการคาดการณ์และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส

ดีแทคมีความมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งขององค์กร ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้งานมือถือเพื่อสนับสนุนภารกิจสำคัญของรัฐบาลในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ดีแทคมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญด้าน data analytics เพื่อสร้างแบบจำลองการประเมินของพื้นที่การระบาดในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มเทเลนอร์ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสุขภาพในหลายประเทศ รวมถึงกลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวีย โดยจะถ่ายทอดประสบการณ์นี้กับดีแทคเพื่อต่อยอดการทำงานในวิกฤตนี้

ปัจจุบัน เทเลนอร์ได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แก่หน่วยงานสาธารณสุขในประเทศนอร์เวย์ เพื่อทำความเข้าใจการแพร่กระจายของไวรัสและผลกระทบของระบบสุขภาพ ด้วยการติดตามข้อมูลการเคลื่อนไหวจากการใช้งานของเคสไวรัส เพื่อประเมินพื้นที่ระบาด และคาดการณ์แนวโน้มพื้นที่ที่จะระบาดต่อไป ข้อมูลนี้สามารถใช้เพื่อคำนวณจำนวนผู้ที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และออกมาตรการต่างๆ มารองรับได้ทันที โดยเทเลนอร์ได้นำข้อมูลมาใช้แบบไม่ระบุชื่อเพื่อคุ้มครองข้อมูล และไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ซ้ำได้

ที่ผ่านมา เทเลนอร์ได้ประสบความสำเร็จในรูปแบบการจำลองและการคาดการณ์การระบาดของโรคมาลาเรียที่พัฒนาในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย สำหรับการนำประสบการณ์ไปต่อยอดเพื่อใช้กับการระบาดของโควิด-19 เทเลนอร์กำลังอยู่ในระหว่างปรึกษากับองค์กรระหว่างประเทศเช่นคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ตัวแทนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก และสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)

“ดีแทคร่วมแรงใจ Fight COVID-19” โครงการเพื่อภารกิจสำคัญในการร่วมต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

ดีแทคร่วมกับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการ “ดีแทคร่วมแรงใจ Fight COVID-19” เพื่อเสริมศักยภาพงานบริการสังคม โดยดีแทคสนับสนุนเบอร์โทรสายด่วน เรียงหมายเลข 4 หลักสุดท้ายให้จดจำได้ง่ายขึ้น 063-474-0061 ถึง 0065 พร้อมค่าโทรฟรีให้กับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ที่กำลังรับมือการโทรเข้ามาปรึกษา ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มากขึ้น อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่เผชิญกับวิกฤตการณ์นี้ และเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยให้บริการ ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงที่ต้องกักตัว และประชาชนทั่วไป เพื่อลดการแพร่ระบาดโควิด-19

จัดค่ายแกนนำเยาวชนอินเทอร์เน็ต dtac Young Safe Internet Leader Camp Version 2.0  (YSLC) สู่รูปแบบ “ค่ายออนไลน์” ลดความเสี่ยงจากการระบาดของเชื้อโควิด-19

ในช่วงปิดเทอมระยะยาวแบบนี้ เด็กๆ ที่ติดอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน อาจเผชิญภาวะที่เรียกว่า “Cabin fever” หรือสภาวะกดดันทางจิตใจที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้านลบและความทุกข์ที่เกิดจากการถูกจำกัดพื้นที่ ดีแทคพบว่าวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปีมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เยาวชนเผชิญกับภัยออนไลน์สูงขึ้น และยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนใช้งานในประเทศโดยรวม จากข้อมูลพบว่าร้อยละ 86 ของเด็กที่ถูกสำรวจเคยได้รับประสบการณ์ล่วงละเมิดและเนื้อหาไม่เหมาะสม รวมทั้งการชักชวนทางเพศจากคนแปลกหน้าทางออนไลน์ และร้อยละ 90 พบว่าได้รับข้อมูลที่ผิดและบิดเบือน หรือข่าวปลอม (Fake news) รวมถึงการหลอกลวงทางการค้าบนโซเชียลมีเดียที่แชร์จากเพื่อนหรือคนดัง

ดีแทคได้ร่วมกับดีป้า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยจัดค่ายแกนนำเยาวชนอินเทอร์เน็ต dtac Young Safe Internet Leader Camp Version 2.0  (YSLC) รูปแบบค่ายออนไลน์เป็นครั้งแรกในไทย ระหว่าง 27-30 เมษายน 2563 เพื่อเปลี่ยนบทบาทของเยาวชนจากเหยื่อภัยออนไลน์ มาเป็นผู้นำที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง และสามารถให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ หรือผู้คนรอบข้าง ในการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งหลักสูตรนี้ ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) แล้ว ยังจะทำให้เด็กๆ มีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) มากขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://dtacblog.co/press-th/%e0%b9%8dyslc2_cybercamp/

Comments

comments