ภายหลังจากที่ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายได้เข้าชำระค่าคลื่นย่าน 700 MHz งวดแรกและได้รับใบอนุญาตให้ใช้งานได้ภายหลังการรีฟาร์มคลื่นจาก TV Digital ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทิศทางการพัฒนาคลื่น 5G เพื่อนำไปใช้งานจะเป็นไปแบบไหน เราในฐานะผู้ใช้บริการจะได้ประโยชน์อะไรจากการนี้ บทความนี้เรามีคำตอบมาฝากครับ

 

ทำความรู้จักคลื่น 700 MHz

ในการให้บริการเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้คลื่นให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานในแต่ละพื้นที่และรูปแบบหรือลักษณะของการใช้งาน ซึ่งแต่ละย่านความถี่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป คลื่นสูง เช่น 26 GHz มี Bandwidth สูง รองรับพื้นที่ใช้งานหนาแน่น ลักษณะใช้งานพร้อม ๆ กันคล้าย Wi-Fi Hotspot ได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียคือระยะทำการไปได้ไม่ไกล คลื่นกลาง เช่น 2600 MHz ที่เราใช้งาน 5G เป็นคลื่นหลักในไทยตอนนี้ รองรับปริมาณการใช้งานได้มาก เหมาะกับพื้นที่ในเมือง มีระยะทำการใกล้เคียงกับคลื่น 4G อย่าง 1800 หรือ 2100 MHz สามารถติดตั้งเพิ่มเพื่อให้บริการ 5G ได้ง่ายในสถานีฐานที่มีคลื่น 4G ให้บริการอยู่แล้ว สามารถทำความเร็วสูงได้ดีเยี่ยมเพราะมี Bandwidth ที่สูงถึง 100 MHz และคลื่นต่ำ 700 MHz ที่เรากำลังพูดถึงนี้ มีรัศมีทำการทะลุทะลวงได้ดีที่สุด นำไปใช้กับตึกสูง หรือ คอนโด สามารถทะลุผนังกำแพงของตัวอาคาร เข้าไปให้บริการได้เป็นอย่างดี ติดตั้งไม่กี่สถานีก็สามารถครอบคลุมบริการในพื้นที่ได้กว้างกว่าทุกคลื่น เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลหรือชนบท แต่มีข้อด้อยคือ Bandwidth มีน้อยสุด ถ้าเทียบกับคลื่นย่านอื่น ความจุสูงสุด 15 MHz เต็ม 1 บล้อคความถี่ ดังนั้นความเร็วที่ได้จากการใช้งานคลื่น 700 MHz 5G จะเร็วกว่า 4G เพียงแค่ 10-20% เท่านั้น เช่น 4G ทำความเร็วได้ 60-70Mbps ในปริมาณคลื่น 10 MHz ถ้าเป็น 5G คลื่น 700 MHz ก็จะเร็วขึ้นเป็น 80-90Mbps เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ให้บริการที่มีคลื่น 700 MHz จึงนิยมเปิดบริการทั้ง 4 และ 5G ไปพร้อมๆกัน

 

การที่ผู้ให้บริการมีคลื่นครบทุกรูปแบบ ก็หมายความว่า ลูกค้าจะได้ใช้คลื่นในย่านต่าง ๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ เช่นเดียวกัน แม้ คลื่นต่ำ 700 MHz เมื่อนำมาให้บริการ 5G จะไม่ได้เร็ว แรง แบบคลื่นกลาง หรือคลื่นสูง แต่ด้วยคุณสมบัติของ 5G ที่ทำให้ค่า Latency ต่ำกว่าเทคโนโลยีอื่น และความต้องการในการงานอุปกรณ์ประเภท iot ที่ต้องการ Bandwidth ไม่มาก ใช้พลังงานต่ำ คลื่น 700 MHz จะเข้ามาเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ได้ดีที่สุด ดังนั้นถ้าผู้ให้บริการบางรายจะยึดเอาคลื่น 700 MHz เป็นหลักในการให้บริการ 5G อาจจะไม่ตอบโจทก์ด้วยคุณสมบัติของคลื่นที่ไม่เอื้ออำนวย

 

การใช้งานคลื่น 700 MHz ในช่วงแรก

ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่รองรับคลื่น 5G 700 MHz นั้นยังมีอยู่น้อย [แต่ iPhone12 ทุกรุ่นก็ใช้ 5G 700 MHz ได้นะ ทำ EN-DC กับ 1800 และ 2100 MHz] ผู้ให้บริการจึงนำคลื่นนี้ไปให้บริการในเทคโนโลยี 4G ไปพร้อมกับ 5G  ดังนั้นการที่มีคลื่นมาก เต็ม Block 15 MHz ก็ช่วยทำให้การแชร์ใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ 4/5G ได้ประโยชน์จากการใช้งานสูงสุด เพราะการนำ คลื่น 700 MHz มาใช้นั้นในทางเทคนิค สามารถกำหนด (config) เพื่อให้บริการได้ตั้งแต่ 5-10-15 MHz และในกรณี 4G/4G+ เดิมที่ใช้งานได้ 3CA FDD [1800/2100/900] ก็จะกลายเป็น 4CA FDD [1800/2100/900/700] ทำความเร็วเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และอุปกรณ์ที่ใช้นั้นรองรับการรวมคลื่น [CA] ได้มากน้อยแค่ไหน

 

เทคโนโลยีและเทคนิคพิเศษในการใช้คลื่น 700 MHz

คลื่น 700 MHz เมื่อนำมาให้บริการ 5G รองรับเทคนิคการรวมคลื่น 5G และ 4G (EN-DC) โดยคลื่น 4G ที่สามารถนำมารวมได้ คือคลื่น 1800 และ 2100 ทำให้ได้ความเร็วจากทั้ง 3 คลื่น ผู้ให้บริการที่มี Bandwidth มากก็จะทำให้ได้ความเร็วสูงมากตามไปด้วย สำหรับคลื่น 900 MHz นั้นไม่สามารถนำมาทำเป็น Anchor Band ให้ 5G 700 MHz ค่ายที่ลงทุนปักเสา 1800 และ 2100 MHz ไว้มากก็จะได้เปรียบในการนำเอาคลื่น 700 MHz (NSA) ไปใช้ เพราะสถานีฐานแห่งไหนที่มี 1800/2100 MHz อยู่แล้วก็เพียงเพิ่มสายอากาศ 700 MHz เข้าไปก็พร้อมใช้งาน 5G ได้ทันที ผู้ให้บริการบางราย ใช้คลื่น 900 MHz ในพื้นที่ห่างไกลเพียงคลื่นเดียว เมื่อได้คลื่น 700 MHz มาก็จำเป็นต้องเพิ่มคลื่น 1800 หรือ 2100 MHz เพื่อใช้เป็น Anchor Band ให้บริการ 5G บนคลื่น 700 MHz สามารถใช้งานได้ มิเช่นนั้น มือถือก็จะจับได้แต่สัญญาณ 4G 700 MHz

 

เปรียบเทียบความถี่ที่แต่ละค่ายถือครองอยู่

 

 

จะเห็นว่า AIS มีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมทั้งย่านสูง กลาง ต่ำ โดยมีปริมาณความจุที่สูงกว่าทุกราย โดยสาเหตุที่ลูกค้ามีหลากหลายประเภท การใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างคลื่นความถี่ให้ตรงวัตถุประสงค์กับการใช้งาน เป็นการจัดสรรให้เกิดประโยชน์เพื่อประสิทธิภาพโครงข่ายโดยรวมที่ดีที่สุด

 

คลื่นบางย่านความถี่ อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับ 5G

การที่มีคลื่นหลายย่านความถี่เป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถนำความจุที่คิดเป็นปริมาณ MHz นั้นออกไปใช้งานได้หลากหลายขึ้น แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจตรงที่ คลื่น 850 MHz นั้น  ไม่สามารถใช้งานร่วมกับคลื่นอื่น ๆ ที่ให้บริการ 5G ได้ในปัจจุบัน หมายความว่าคลื่น 850 MHz ไม่สามารถใช้เป็น Anchor Band และไม่สามารถใช้ทำ EN-DC แบบคลื่นอื่น ๆ ได้ ดังนั้นคลื่นนี้ถึงแม้มีอยู่ แต่อาจไม่ได้ประโยชน์กับการใช้งานจริงเท่าใดนัก

World’s Best In Class หรือ Super Block มีผลดีอย่างไร

 

3GPP กำหนดมาตราฐานคลื่นความถี่ในการใช้งาน 5G จำนวน MHz ต่อ 1 CARRIER สูงสดไว้ดังนี้

คลื่นสูง 400 MHz นับเป็น 1 CARRIER

 

คลื่นกลาง 100 MHz นับเป็น 1 CARRIER

 

คลื่นต่ำ (700) 30 MHz นับเป็น 1 CARRIER

 

เมื่อมาตราฐานที่ผู้ให้บริการระดับโลกจำเป็นต้องมีคลื่นความถี่ที่เพียงพอ เต็มบล้อคย่านความถี่ มีข้อดีหรือข้อได้เปรียบตรงที่ทำให้เครือข่ายมีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ในการออกแบบ Solutions , ปรับเปลี่ยน ,Tailor Made เพื่อตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะคลื่นที่ขาด ไม่เต็มบล้อคจะนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ได้ เราจะเห็นได้ว่า AIS เป็นผู้ให้บริการในไทยเพียงรายเดียวที่มีคลื่น Super Block เต็มผืนทั้ง สูง [400×3=1200MHz] กลาง [100×1=100MHz] และต่ำ [15×2=30MHz] รวมทั้งหมด 1330 MHz ในภาพรวมเครือข่าย 5G ของ AIS จะมีความเร็ว Speed ที่สูงกว่าถึง 24 เท่า และมีขีดความสามารถในการรองรับการใช้งาน Capacity ได้มากกว่าถึง 30 เท่า มี Latency ที่ต่ำกว่าเดิมถึง 10 เท่า ทั้งหมดนี้คนที่ได้ประโยชน์ทั้งหมดก็คือผู้ใช้งานทุกคนที่จะได้รับประสบการณ์การใช้งานด้วยคุณภาพของบริการ 4G และ 5G ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

บทสรุป 700 MHz ค่ายไหนได้ประโยชน์มากสุด

จะเห็นว่า AIS มุ่งมั่นตั้งใจไปกดประมูลคลื่น 700 MHz มาเพิ่มจากเดิมที่มีเท่ากับรายอื่น ๆ คือ 10×2 MHz โดยไปเอาเพิ่มมาอีก 5×2 MHz รวมเป็น 15×2 = 30 MHz ทำให้เป็นค่ายเดียวที่มีปริมาณคลื่นความถี่ถือครองสูงที่สุด ประกอบกับจำนวนสถานีฐานเดิมในระบบ 4G 1800 และ 2100 MHz ที่ขยายได้เกินเป้าหมายที่ กสทช. กำหนดและมีจำนวนสถานีฐานที่มากที่สุด พร้อมด้วยเทคโนโลยี EN-DC ที่จะนำคลื่น 5G และ 4G หลากหลายย่านมารวมกันให้ได้ความเร็วสูงสุด และด้วยความที่มีคลื่นมาก อย่างคลื่นหลัก 2600 MHz ที่เปิดให้บริการอยู่แล้วก็ดี และคลื่น 26 GHz ที่รองรับไปถึงอนาคตกว่า 1200 MHz ก็ดี เหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันที่สามารถพิสูจน์ถึงเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีพลังที่จะส่งมอบประสบการณ์การใช้งานได้ครอบคลุมทุกมิติด้วยความเร็วสูงที่สุดจากทรัพยากรที่มี สะท้อนภาพการเป็นผู้นำในการให้บริการ 5G ประเทศไทยได้อย่างแท้จริง

Comments

comments