เมื่อโลกก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘Open Banking’ หรือการที่ผู้ให้บริการทางการเงินและลูกค้า ยินยอมเปิดเผยข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าตัวเอง ให้กับสถาบันการเงินอื่นๆ และบริษัทที่เป็นบุคคลที่สาม ภายใต้กฎหมายและการควบคุมที่กำหนด เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นมีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ผู้คน รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวก อาทิ ลูกค้าสามารถเปิดเพียงบัญชีเดียวหรือใช้แอปพลิเคชันเดียว ก็เข้าถึงบริการได้อย่างครบครัน เพราะข้อมูลเชื่อมต่อถึงกันหมด แนวทางนี้ยังจะช่วยให้แต่ละธนาคารต้องหันมาใส่ใจลูกค้ามากขึ้นด้วย

ในส่วนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั้น นับว่าเป็นผู้นำด้าน Open Banking โดยประเทศที่มีความโดดเด่นคือ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย อันเนื่องมาจากการลงทุนของทั้งภาครัฐบาล สถาบันการเงินเอกชน และสตาร์ทอัพ เช่น ใน พ.ศ. 2559 องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (MAS) เปิดแพลตฟอร์มให้คนเข้าถึง API รวมถึงเผยแพร่ข้อบังคับเรื่องมาตรฐานการส่งต่อข้อมูลและความปลอดภัยที่ประเทศต่าง ๆ สามารถใช้ดูเป็นแบบอย่าง เมื่อประกอบกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในภูมิภาคนี้ที่คุ้นชินกับบริการการเงินทางดิจิทัลมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อของทางออนไลน์และชำระเงินแบบไร้สัมผัส การใช้งานสมาร์ทโฟนที่คาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้นสูงจาก 68% ของประชากรใน พ.ศ. 2563 เป็น 83% ใน พ.ศ. 2568 ประกอบกับการยินยอมเปิดเผยข้อมูลของตัวเอง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคตOpen Banking จะเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในระดับสากล

Edwardcher Monreal ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัย ธุรกิจ IAM Consumer Authentication Solutions บริษัท HID Global หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของ Open Banking คือความกังวลเรื่องการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบที่เหมาะสม เพราะหากข้อมูลส่วนตัวเกิดการรั่วไหล ย่อมเป็นปัญหาต่อลูกค้าที่อาจถูกสวมตัวตนและฉ้อโกง และธุรกิจสูญเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัจจัยที่เผชิญทั่วโลกเช่นเดียวกัน จากการสำรวจผู้บริหารของสถาบันการเงินในยุโรปและสหราชอาณาจักรโดย HID Global พบว่ากว่า 39% เผชิญความท้าทายเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล

หนึ่งในแนวทางที่จะช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของแต่ละภูมิภาคคือ โซลูชันการยืนยันตัวตนและบริหารจัดการความเสี่ยงทางดิจิทัล โดย HID Global ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันระบุตัวตน ได้มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทั้งการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์

โซลูชันด้านความปลอดภัยของ HID Global ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามหลัก Open Banking มีอยู่หลากหลาย สำหรับสถาบันการเงินและผู้ใช้งานตามความสะดวกและเหมาะสม เช่น

  • Biometrics ที่ยืนยันตัวตนผ่านข้อมูลชีวมิติของลูกค้าอย่างใบหน้าหรือลายนิ้วมือ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยในอนาคต ในกรณีที่พฤติกรรมของผู้ใช้งานผิดแปลกไปจากปกติ
  • การยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่านบัตรประชาชนและเอกสารที่ตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิคได้มากถึง 70 จุด
  • การส่ง OTP และ notifications ที่เพียงขยับปลายนิ้ว ก็สามารถยืนยันตัวตนและตรวจสอบความปลอดภัย นอกเหนือจากการส่ง SMS ที่อาจมีการปลอมแปลงและโดนแฮ็กได้ง่าย และยังช่วยลดต้นทุนอีกด้วย
  • ระบบป้องกันการฉ้อโกงและทุจริตที่วิเคราะห์ด้วย AI และ Machine Learning ช่วยสถาบันการเงินวิเคราะห์ข้อมูลและตอบสนองต่อผู้ใช้งานตามเงื่อนไขความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม โดยออกแบบให้ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้งาน และบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ ไม่ต้องเสียเวลากับกรณีที่ไม่จำเป็น รวมทั้งยังมีข้อมูลเรียลไทม์และรายงานผลการวิเคราะห์ให้บริษัทตรวจสอบได้อย่างง่ายดาย

เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้การยืนยันตัวตนเมื่อต้องทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ เป็นเรื่องง่าย ไม่เช่นนั้น บริษัทอาจสูญเสียลูกค้าไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลที่เติบโตมากับเทคโนโลยี โดยจากผลสำรวจของ HID Global ยังพบว่า 49% ของผู้บริหารในสถาบันการเงินมองว่าอินเทอร์เฟสที่ใช้งานง่ายนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน

ด้วยประสบการณ์พัฒนาโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ด้านการยืนยันตัวตนและความปลอดภัยมากว่า 30 ปี โซลูชันของ HIDตอบโจทย์ทั้งด้านความปลอดภัย ความสะดวกของลูกค้า ต้นทุนที่ลดลง และความยืดหยุ่นที่เปิดให้ใช้งานและปรับแต่งได้หลากหลายรูปแบบ สถาบันการเงินสามารถใช้โซลูชันเหล่านี้เพื่อปฏิบัติตามแนวทางของ Open Banking และข้อบังคับใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น หรือแม้แต่การพัฒนาให้เกินกว่าที่ข้อบังคับกำหนด เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

Comments

comments