ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อํานวยการสํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นํา เสนอผลสํารวจ เรื่อง โพล ควบรวม ทรู ดีแทค กรณีศึกษาประชาชน ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดําเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) จํานวน 1,331 ตัวอย่าง ดําเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 14 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 คัดค้านการควบรวมกิจการทรู กับ ดีแทค ในขณะที่ร้อยละ 16.1 เห็น ด้วยกับการควบรวมกิจการ ตามลําดับ

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงระดับความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุดของประชาชนต่อ การควบรวมธุรกิจ ทรู กับ ดีแทค พบว่า เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.6 ระบุ ประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุน ผูกขาด รองลงมาคือ ร้อยละ 50.3 หรือประมาณครึ่งหนึ่งระบุ จะเกิดการผูกขาดธุรกิจ ของ กลุ่มนายทุน ร้อยละ 45.7 ระบุ ค่าบริการจะแพงขึ้น หลังการควบรวมกิจการธุรกิจ ร้อยละ 41.4 ระบุ เกิดความไม่เป็นธรรม ใน ข้อตกลงสัญญา กับผู้บริโภค ร้อยละ 40.8 ระบุ การควบรวมกิจการธุรกิจของ ทรู กับ ดีแทค จะกลายเป็นการ ผูกขาดธุรกิจให้เหลือน้อยราย ลดทางเลือกของผู้บริโภคลง และร้อยละ 40.8 เท่ากัน ระบุจะเกิดการกีดกันการค้า ของผู้ประกอบการรายย่อย และร้อยละ 39.7 เข้าใจว่า การควบรวมกิจการธุรกิจ ของ ทรู กับ ดีแทค จะส่งผลเสีย ต่อผู้บริโภค ตามลําดับ

 

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงผลกระทบในอนาคตจากการควบรวมธุรกิจ ทรู กับ ดีแทค พบว่า เกินครึ่งหรือร้อย ละ 51.3 ระบุ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ร้อยละ 49.8 ระบุ ไม่เกิดการแข่งขัน ร้อยละ 49.2 ระบุ ราคาค่าบริการจะ สูงขึ้น ร้อยละ 36.7 ระบุ เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค ร้อยละ 24.3 ระบุ คุณภาพบริการจะแย่ลงและร้อยละ 17.2 ระบุ ประเทศสูญเสียรายได้ ตามลําดับ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่คัดค้านการควบรวมกิจการทรูกับ ดีแทค ด้วยความรู้ความเข้าใจของประชาชนว่าประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุนผูกขาดและ ก่อให้เกิดการสูญเสียผลประโยชน์ทั้งผลประโยชน์ชาติและของประชาชนแต่ละคนโดยมีความคิดว่าการควบรวมจะ ทําให้ค่าบริการแพงขึ้น เกิดความไม่เป็นธรรมในข้อตกลงสัญญากับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการลดทางเลือกของ ผู้บริโภคและเกิดการกีดกั้นการค้าผู้ประกอบการรายย่อยที่ส่งผลเสียโดยรวมต่อผู้บริโภคเพราะจะเกิดผลกระทบใน อนาคตในหลายมิติได้แก่ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ไม่เกิดการแข่งขัน ราคาค่าบริการจะสูงข้ึน เกิดการเอาเปรียบ ผู้บริโภค คุณภาพการบริการจะแย่ลง และประเทศจะสูญเสียรายได้ ท่ีรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนํา ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่จะก่อให้เกิดความสมดุลในตลาดการค้าเสรีที่ทุกฝ่ายได้รับ ผลประโยชน์มากขึ้นหลักการเปลี่ยนแปลงหรือคงสภาพที่เป็นอยู่ในเวลานี้

Comments

comments