เพื่อสร้างสังคมไทยให้น่าอยู่และเป็นพื้นที่แห่งความสุขด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี AIS จึงขานรับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS ที่ต้องการสร้าง Green Network ในทุกมิติ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศหลังนำร่องเชิญคู่ค้า พาร์ทเนอร์ พนักงาน ปลูกต้นไม้ 5,000 ต้นไปแล้วเมื่อต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา วันนี้ “AIS Go Green” เดินหน้าเร่งสร้างพื้นที่สีเขียว สร้างความเข้มแข็งในชุมชนย่านพหลโยธิน เขตพญาไท ด้วยแผนการปลูกต้นไม้ 10,000 ต้นในพื้นที่เขตพญาไท พร้อมชวน 17 องค์กรพันธมิตร กลุ่ม กรีน พหลโยธิน ปลูกต้นไม้ 800 ต้นบริเวณใต้ทางด่วน ก่อนขยายการปลูกไปยังพื้นที่ทั่ว กทม.กับเป้าหมาย100,000 ต้น ใน 4 ปี

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส เปิดเผยว่า “เป้าหมายของโครงการ AIS Go Green คือ การสร้าง Green Network ในทุกมิติ ผ่านการเข้าร่วมปลูกต้นไม้กับกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องให้ได้รวม 100,000 ต้น ภายใน 4 ปี เพื่อสร้างร่มเงา ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศดังนั้น นอกเหนือจากเป้าหมายดังกล่าวแล้ว ในฐานะชาวชุมชนพหลโยธิน เขตพญาไท ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลพื้นที่รอบบ้านของเรา จึงได้ร่วมกับสำนักงานเขตพญาไทในการกำหนดแผนการปลูกต้นไม้ 10,000 ต้นในพื้นที่เขตพญาไท พร้อมชักชวนพันธมิตรเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม 17 องค์กรในชื่อ กลุ่มกรีนพหลโยธิน ที่ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 มาร่วมกิจกรรม “AIS Go Green @Phaya Thai” ปลูกต้นไม้ 800 ต้น ประกอบด้วย ต้นอโศกอินเดีย ที่สามารถดูดซับฝุ่นได้อย่างดี และต้นแก้ว ไม้พุ่มกลิ่นหอม เหมาะกับการเป็นสวนสาธารณะ บนพื้นที่150 ตารางเมตร บริเวณสวนหย่อมใต้ทางด่วนเลียบคลองประปา ริมถนนย่านพหลโยธิน ประดิพัทธ์ 5 (ปากซอยร่วมมิตร) กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตพญาไท ซึ่งถือเป็นการสานต่อภารกิจ AIS Go Green ครั้งที่ 2 หลังคิกออฟเปิดตัวโครงการ “AIS Go Green” ปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น โดยนำร่องปลูกต้นไม้ 5,000 ต้นไปแล้วเมื่อต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา บนพื้นที่กว่า 2.4 ไร่ ที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ”

กิจกรรมครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังทั้ง 3ฝ่าย ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่อย่างพันธมิตรกลุ่มกรีนพหลโยธิน ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่จัดขึ้นโดยการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับ 17 องค์กร ประกอบด้วย สำนักงานเขตพญาไท, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน),สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก,โรงพยาบาลพญาไท2,ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน),ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย,บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด,ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน),ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน),ธนาคารยูโอบี จำกัด(มหาชน),ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด(มหาชน),บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด(มหาชน),ธนาคารออมสิน,สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด(มหาชน),ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย,โรงพยาบาลวิมุต และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เพื่อร่วมรณรงค์และสร้างประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ซึ่งได้เริ่มการทำงานร่วมกันในส่วนของการบริหารจัดการขยะอิเล็คทรอนิกส์ หรือ E-Waste ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562”

ด้านนางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพญาไท กล่าวว่า “ปัญหาของเขตพญาไท ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ศูนย์กลางทางธุรกิจ(CBD) ส่วนต่อขยายหรือแลนด์มาร์คความเจริญแห่งใหม่ หรืออีกแห่งของกรุงเทพฯ ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถจนทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 หนาแน่น ซึ่งนโยบายเดินหน้าปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิ่งที่เราพร้อมให้ความร่วมมือและขานรับนโยบาย ดังนั้นการรวมพลังของภาคประชาชน ภาครัฐ และเอกชน ในการจัดกิจกรรม AIS Go Green @Phaya Thaiเป็นความร่วมมือที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในย่านนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งต้องขอขอบคุณทางผู้บริหารและพนักงานของเอไอเอส กลุ่มกรีนพหลโยธิน และกรุงเทพมหานครด้วย ที่เห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้ และตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม”

ขณะที่พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ผมรู้สึกดีใจมากที่เห็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะการดูแลชุมชนของพื้นที่เขตพญาไท ย่านพหลโยธิน ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นภารกิจของคนไทยทุกคน และที่สำคัญได้เห็นชาวกรุงเทพร่วมกันสานต่อเป้าหมายการทำงานของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มุ่งหวังให้คนกรุงเทพฯ เชื่อมต่อทุกภาคส่วน ในการสร้างพลังเครือข่ายจากทุกคนได้ร่วมเปลี่ยนแปลงกรุงเทพมหานครไปด้วยกัน และกิจกรรม AIS Go Green @Phaya Thai เชื่อว่าจะเป็นโมเดลจะส่งต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ รวมถึงปลูกฝังแนวคิดนี้ให้แก่ชาว กทม. ในทุก Generation ร่วมเชื่อมต่อและสร้างพลังเครือข่ายทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและงานอื่นๆร่วมกัน”

นางสายชล กล่าวในตอนท้ายว่า “เราไม่มองการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ แต่เราต้องการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด Green Network ที่จะนำไปสู่พัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับนโยบายเชิงกลยุทธ์มาจนถึงในทางปฏิบัติ แม้แต่ในการจัดกิจกรรมเราก็มองถึงปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้น และพยายามคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อทำการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณที่ปล่อยออกมา และทำให้เป็นงาน Carbon Neutral Event หรืองานอีเว้นท์ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องไปกับเป้าหมายในการดูแลสิ่งแวดล้อมสมตามเจตนารมณ์ในทุกมิติอย่างแท้จริง”

AIS Go Green @Phaya Thai” เป็น 1 ภารกิจในเป้าหมายปลูกต้นไม้ร่วมกับกรุงเทพมหานครทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ต่อเนื่อง ทั้งนี้คาดว่าพื้นที่ต่อไปจะเป็นโรงขยะอ่อนนุช, ศูนย์การเรียนรู้เกษตรฯ ถนนอักษะ และโรงขยะหนองแขม เป็นต้น รวมถึงการขับเคลื่อนในมิติอื่นๆ ทั้งการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste และสร้างจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตอนนี้มีจุดทิ้งขยะ E-Waste กว่า 2,400 จุดทั่วประเทศ โดยผู้เข้าร่วมสามารถติดตามการเติบโตของต้นไม้ในโครงการ AIS Go Green ตามพิกัดพื้นที่ปลูกในสถานที่อื่นๆ ได้ทาง LINE : @tomorrowtree และ Facebook: AIS Sustainability

Comments

comments