ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา “การทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอธุรกิจ” (business portfolios) กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักที่หลายองค์กรต้องเผชิญคือการสรรหาและรักษาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยผลสำรวจล่าสุดจาก เอบีม คอนซัลติ้ง ภายใต้หัวข้อ The Importance of Employer Branding as Seen from the Fact-finding Survey on Business Portfolio Transformation and Attractiveness of Human Capital Both Internally and Externally” ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของ Employer Branding หรือการสร้างแบรนด์นายจ้างในการดึงดูดและรักษาบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยผลสำรวจเน้นย้ำว่า องค์กรที่มีการผสานกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ภายในและภายนอกอย่างสอดคล้องกัน จะมีความสามารถสูงกว่าในการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะได้ตรงความต้องการ

การสำรวจนี้ครอบคลุมผู้บริหารระดับสูงในสายงานทรัพยากรบุคคลและแผนงานองค์กรจำนวน 301 คน จากบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 50,000 ล้านเยน ผลพบว่า 85.7% ขององค์กรเห็นว่าการทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอธุรกิจเป็นกลยุทธ์สำคัญ แต่ 92.7% กลับประสบปัญหาในการจัดหาบุคลากรทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ โดยมีเพียง 12% เท่านั้นที่ระบุว่ามีบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอ และมีเพียง 21.2% ของบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตเท่านั้นที่เชื่อมั่นในคุณภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่

Business people meeting at office and use post it notes to share idea. Brainstorming concept.

แม้หลายองค์กรจะตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรที่มีทักษะสูง แต่กลับประสบปัญหาในการดึงดูดคนเก่งเข้าสู่องค์กร โดยสาเหตุหลักมีสองประการ ได้แก่ การขาดแคลนตลาดแรงงาน และการขาดการสร้างภาพลักษณ์นายจ้างที่น่าสนใจ ซึ่งองค์กรที่สามารถสื่อสารจุดแข็งของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอก มักจะประสบความสำเร็จในการดึงดูดบุคลากรคุณภาพ

จากการศึกษาของ เอบีม คอนซัลติ้ง พบปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3 ประการในการดึงดูดทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม โดยประการแรก องค์กรต้องมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้างแบบบูรณาการเพื่อสร้างความดึงดูดทั้งกับพนักงานปัจจุบันและผู้สมัครภายนอก ซึ่งในอดีตองค์กรจำนวนมากมักแยกการสร้างแบรนด์ภายใน (เน้นสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน) และการสร้างแบรนด์สำหรับการสรรหาคนภายนอกออกจากกัน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 75.1% ขององค์กรเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นของแนวทางแบบบูรณาการ ประการต่อมาคือองค์กรต้องมีมาตรการสร้างความผูกพันที่แท้จริงกับพนักงาน แม้หลายแห่งจะพยายามดำเนินการในจุดนี้แล้ว แต่ผลสำรวจชี้ว่า 13.6% ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลเท่านั้นที่เชื่อว่ามาตรการเหล่านั้นมีผลจริง และสุดท้ายก็คือการที่องค์กรต้องสามารถสื่อสารความน่าสนใจของตนออกสู่ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในตลาดแรงงานระดับกลางถึงสูงที่มีประสบการณ์ในการทำงานมานาน

ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า แนวคิด Employer Branding หรือการสร้างแบรนด์นายจ้างนั้น กำลังทวีความสำคัญในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่แพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกามาแล้ว การสร้างภาพลักษณ์นายจ้างคือการถ่ายทอดภาพลักษณ์องค์กรในฐานะสถานที่ทำงานที่น่าทำงานทั้งต่อบุคลากรภายในและผู้สมัครภายนอก องค์กรที่สามารถสื่อสารคุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรไปยังตลาดแรงงานได้อย่างชัดเจน จะมีศักยภาพสูงในการดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้อย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาแบรนด์นายจ้างที่ชัดเจนยังช่วยให้องค์กรสามารถกำหนด Employee Value Proposition (EVP) หรือคำสัญญาที่องค์กรมีต่อพนักงานได้อย่างตรงประเด็น ซึ่ง EVP นี้ควรถูกสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ทั้งช่องทางภายในและภายนอก

เพื่อสร้างแบรนด์นายจ้างที่แข็งแกร่ง เอบีม คอนซัลติ้ง แนะนำ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การกำหนดจุดยืนในฐานะสถานที่ทำงานที่น่าดึงดูด โดยต้องชี้ให้เห็นว่าองค์กรมีความพิเศษและมีคุณค่าอย่างไรต่อพนักงาน EVP ควรตอบคำถามหลักว่าทำไมพนักงานจึงควรทำงานที่นี่ แทนที่จะไปทำงานที่อื่น ขั้นตอนถัดมาองค์กรต้องพัฒนาโปรแกรมที่สนับสนุน EVP ที่กำหนดไว้ด้วยการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และสร้างความผูกพันที่แท้จริงกับพนักงาน และขั้นตอนสุดท้ายคือการสื่อสาร EVP ไปยังภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร โอกาสในการเติบโต พร้อมแสดงความใส่ใจและความมุ่งมั่นต่อพนักงาน องค์กรจึงสามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพจากตลาดแรงงานภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอบีม คอนซัลติ้ง ยังได้ยกตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์นายจ้าง เช่น ธุรกิจร้านอาหารที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่ใช้ EVP ที่เน้นการเสริมพลังให้ลูกค้า การเติบโตของพนักงาน และการยอมรับในคุณค่า ซึ่งช่วยให้สามารถดึงดูดคนเก่งจากทั้งภายในและภายนอก ขณะที่ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์รายใหญ่ ที่ใช้ EVP ที่เน้นการเล่าเรื่องของงานที่มีคุณค่าและมีจุดมุ่งหมาย วัฒนธรรมการทำงานที่สร้างแรงบันดาลใจ และผลตอบแทนที่ดึงดูด ซึ่งล้วนส่งผลให้สามารถดึงดูดแรงงานมืออาชีพที่มีทักษะสูงและรักษาความภักดีของพนักงานไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

A diverse business team showing collaboration and unity with hands joined together in a team-building exercise.

โดยสรุป ผลสำรวจของเอบีม คอนซัลติ้ง ตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของ Employer Branding ต่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ องค์กรที่สามารถผสานการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก สร้าง EVP ที่ชัดเจน และถ่ายทอดความน่าสนใจของตนออกไปอย่างสม่ำเสมอ จะมีโอกาสสูงในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่จำเป็นต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะที่โลกธุรกิจยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การมีแบรนด์นายจ้างที่แข็งแกร่งจะยิ่งทวีความสำคัญ และ ABeam Consulting พร้อมสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ พัฒนากลุทธ์ Employer Branding เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในระยะยาว ด้วยแบรนด์ที่เข้าถึงทั้งใจพนักงานและผู้สมัครงานรุ่นใหม่.

 

เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ ABeam Consulting Ltd. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีที่ปรึกษามืออาชีพมากกว่า 8,300 คน ให้บริการลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วเอเชีย อเมริกา และยุโรป เอบีม คอนซัลติ้ง เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีความเชี่ยวชาญในงานที่ปรึกษาครอบคลุมหลายด้าน อาทิ กลยุทธ์องค์กร (Strategy), การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (BPR), เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management), บริการเอาต์ซอร์ส (Outsourcing), ที่ปรึกษาด้าน SAP, ESG, และบริการด้านปฏิบัติการอื่น ๆ เราเชื่อในการสร้างอนาคตร่วมกับองค์กรและภาคธุรกิจในทุกระดับ โดยมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำพาองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทั้งภาคอุตสาหกรรมและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Comments

comments