กระทรวงดีอีดีป้า ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และเครือข่ายพันธมิตร แถลงข่าวการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ภายใต้โครงการ depa Thai Digital Content Go Global และโครงการพัฒนาทักษะด้านเกม ตามนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หรือ OFOSGAME เพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศที่พร้อมรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างเกมที่เน้นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเกม เตรียมความพร้อมสู่ตลาดสากล

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) พร้อมด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้านเกมตามนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หรือ OFOSGAME และโครงการ depa Thai Digital Content Go Global โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า นายสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม ผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงาน สมาคม และสถาบันการศึกษาเข้าร่วมงาน

ผศ.ดร.ณัฐพล เปิดเผยว่า ดีป้า มีภารกิจสำคัญในการสร้างสรรค์กลไกส่งเสริมด้านดิจิทัลในทุกมิติ รวมถึงอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ที่ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมเกม แอนิเมชัน คาแรกเตอร์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นอุตสาหกรรมแห่งโอกาสของประเทศ อ้างอิงจากผลสำรวจที่ดำเนินการ
มาตลอดระยะเวลา 8 ปีของ ดีป้า พบว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลไทยมีมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านบาท โดยอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์มีมูลค่าสูงกว่า 4 หมื่นล้านบาท และมีศักยภาพสูงที่จะสยายปีกสู่ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์และมีความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น ด้วยเหตุนี้ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า จึงดำเนินโครงการ depa Thai Digital Content Go Global โครงการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศที่พร้อมรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย โดยดำเนินการผ่าน 4 กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย

  • Digital Content Infrastructure การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในโรงเรียนจาก 4 ภูมิภาค
    ทั่วประเทศโดยการสนับสนุนอุปกรณ์การผลิตดิจิทัลคอนเทนต์
  • Digital Content in School การเสริมสร้างความรู้ กระตุ้นให้เกิดความคิดสสร้างสรรค์และ
    แรงบันดาลใจแก่นักเรียน ครอบคลุมเกม แอนิเมชัน และคาแรกเตอร์
  • Digital Content Accelerator Program โปรแกรมพัฒนาทักษะ เวิร์กชอป และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อสร้างโอกาสต่อยอดสู่การประกอบอาชีพจริง
  • Digital Content Transformation การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถประยุกต์ใช้ดิจิทัล
    คอนเทนต์ได้

โครงการ depa Thai Digital Content Go Global จะช่วยส่งเสริมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ยกระดับความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ พัฒนาทักษะใหม่เพื่อต่อยอดสู่การสร้างอาชีพด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ยกระดับ
ความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา (
IP) ที่ได้มาตรฐานสากล และกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ อีกทั้งสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานของคนไทยและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ พร้อมผลักดันผู้ประกอบการไทยสู่เวทีระดับโลกผ่านการเจรจาจับคู่ธุรกิจและการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thai Digital Content Go Globalผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ‘เกม’ ครองสัดส่วนในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยสูงกว่า 70% หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 34,000 ล้านบาท แต่ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าเกมยังสูงถึง 97% ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเกมไทย 90 ราย และบุคลากรในอุตสาหกรรมกว่า 1,900 คน โดยกลุ่มบุคลากรที่มีทักษะเชิงเทคนิคยังคงเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งกรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกกรรมเกมไทย

กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ยังบูรณาการการทำงานกับ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะด้านเกม ตามนโยบาย
1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หรือ OFOSGAME โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ
ที่จำเป็นต่อการสร้างเกม ทั้งด้านเทคโนโลยี ศิลปะ การเล่าเรื่อง และการสื่อสาร เน้นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงในสายอาชีพ อีกทั้งเป็นการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยบูรณาการกับหลักสูตร depa Game Online Academy

ทั้งนี้ โครงการ OFOSGAME ยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (didtc) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) ในการพัฒนาหลักสูตร 1) การพัฒนาเกมเบื้องต้นใน Unreal Engine 2) การออกแบบเกมแนวเล่าเรื่องและการพัฒนาเกมนิยายภาพ 3) นักพากย์มืออาชีพ และ 4) การสร้างสรรค์โลกเกมใน Roblox พร้อมจัดการฝึกอบรมทั้งรูปแบบออนไลน์และเวิร์กชอปที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ในโครงการ OFOSGAME ได้ที่ https://xlane.sut.ac.th/home/ และเพจเฟซบุ๊ก THACCA-Thailand Creative Culture Agency

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดของทั้งสองโครงการสามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ทุกช่องทาง
การสื่อสารของ ดีป้า ไม่ว่าจะเป็น www.depa.or.th เพจเฟซบุ๊ก depa Thailand และ LINE OA: depaThailand

Comments

comments