กระแสรักสิ่งแวดล้อมและค่าไฟฟ้าที่พุ่งไม่หยุดทำให้การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปกลายเป็นทางเลือกที่หลายครัวเรือนเริ่มจริงจัง แต่คำถามที่คนจำนวนไม่น้อยยังตอบตัวเองไม่ได้ คือติดโซลาร์ต้องขออนุญาตไหม ต้องแจ้งใคร แล้วถ้าจะขายไฟคืนให้รัฐ ต้องทำอย่างไร ?
คำตอบอาจไม่ได้ซับซ้อน แต่มีรายละเอียดเล็กน้อยหลายข้อที่หากมองข้าม อาจกระทบทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายเกินความจำเป็น หรือเสียสิทธิ์ในการขายไฟคืนโดยไม่รู้ตัว
ติดตั้งโซลาร์บนหลังคาบ้าน “ไม่ผิดกฎหมาย” แต่ควรแจ้งการไฟฟ้า
ในหลักการ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อใช้ไฟเองในบ้านไม่จำเป็นต้องขออนุญาตล่วงหน้าแบบการสร้างอาคาร แต่เพื่อความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าในบ้านและชุมชน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แนะนำให้แจ้งติดตั้งทุกกรณี ไม่ว่าจะใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง 100% หรือมีแผนขายไฟคืนในอนาคต
ถ้าไม่แจ้ง โอกาสถูกตรวจสอบย้อนหลังจากเจ้าหน้าที่ หรือไม่ได้รับอนุมัติขายไฟในอนาคตจะสูงมาก แม้คุณจะลงทุนติดระบบไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม
เอกสารที่ต้องใช้ ไม่ได้ยาก แต่ต้องมี “ครบ”
หากวางแผนจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแบบถูกต้องตามระบบ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการขายไฟคืนภายใต้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนของรัฐ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการแจ้งและขออนุญาตมีดังนี:
- สำเนาบัตรประชาชน + สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน
- แบบแปลน หรือแผนผังการติดตั้งจากบริษัทที่รับติดตั้ง
- หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้ติดตั้งไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านโดยตรง)
- ใบเสนอราคาและข้อมูลอุปกรณ์ (อินเวอร์เตอร์, แผง, ขนาดกำลังผลิต)
- หนังสือรับรองจากวิศวกร (ในบางพื้นที่ต้องใช้)
ถ้าจะขายไฟ ต้องจดมิเตอร์แยก และเข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการ
การขายไฟฟ้าคืนให้ภาครัฐไม่ใช่สิทธิอัตโนมัติ ต้องมีการยื่นคำร้องกับการไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วม “โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop for Household)” ที่มีช่วงเปิดรับจำกัดเป็นรอบ
ผู้ที่ติดตั้งระบบแล้วโดยไม่แจ้งตั้งแต่แรก อาจไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการในอนาคต หรืออาจต้องเสียค่าดำเนินการแก้ไขระบบใหม่ เช่น การติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ Bi-directional (วัดการใช้และผลิตไฟแยกจากกัน) และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานการไฟฟ้า
นิติบุคคล หรือบ้านจัดสรร มีข้อจำกัดเฉพาะที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณเป็นนิติบุคคล หรือติดตั้งในทรัพย์สินร่วม เช่น อาคารพาณิชย์ในโครงการ บ้านในหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม การขออนุญาต ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ต้องผ่านความเห็นชอบของนิติบุคคล หรือเจ้าของร่วมเสียก่อน
บางโครงการไม่อนุญาตให้ดัดแปลงรูปแบบภายนอก เช่น การติดแผงบนหลังคาหน้าบ้าน หรือติดตั้งระบบที่อาจส่งผลกับโครงสร้างอาคาร การละเลยจุดนี้อาจนำไปสู่ปัญหาฟ้องร้องภายหลัง
คิดจะติดโซลาร์ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่ต้องเข้าใจข้อกฎหมาย MEAei รับติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ดำเนินการโดยบริษัทในเครือของการไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดยให้บริการติดตั้ง Solar Rooftop ตั้งแต่ให้คำปรึกษาไปจนถึงการดูแลหลังการติดตั้ง มีทีมวิศวกรคอยดูแลตลอดกระบวนการ เชื่อมต่อระบบได้จริง ไม่ทิ้งงาน ผู้ที่สนใจติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ https://meaei.com/service/solar-rooftop