ดีแทคยื่นประมูลคลื่น 1800 MHzไม่ร่วมประมูลคลื่น 900 MHz
มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 4Gและให้บริการ 2G อย่างต่อเนื่องเพื่อลูกค้าหลายล้านราย
8 สิงหาคม 2561 – บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เผยคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz เพื่อให้บริการโทรคมนาคมต่อสำนักงาน กสทช. แต่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคได้พิจารณากฎเกณฑ์การประมูลอย่างถี่ถ้วนและมีผลสรุปจะที่ยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูลและเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800MHz หลังจากที่ กสทช ได้ประกาศปรับเงื่อนไขกฎเกณฑ์การประมูลคลื่น1800 MHz ให้มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้เข้าประมูล และยังช่วยส่งเสริมการแข่งขันในการประมูลด้วย ดีแทคมีความพยายามที่จะจัดหาคลื่นความถี่1800 MHz มาใช้งานเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ดีแทคยังได้เตรียมมาตรการต่างๆ รวมถึง การบังคับใช้แผนความคุ้มครองลูกค้าในช่วงหลังสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ดีแทคไม่เพียงแต่มีแผนที่จะนำคลื่น1800 MHz ที่เราตัดสินใจเข้าประมูลครั้งนี้มาใช้ให้บริการ 2G อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับฐานลูกค้าที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังมุ่งมั่นที่จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายบริการ 4Gตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เติบโตอย่างรวดเร็ว”
ทั้งนี้ ดีแทคประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลและจะไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้บริหารได้เคยชี้แจงเกี่ยวกับข้อกังวลในเงื่อนไขที่ระบุเพิ่มในประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ (IM) อันจะส่งผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานและความไม่แน่นอนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้ชนะประมูลโดยประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9กรกฎาคม ระบุให้ผู้ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดที่จะสร้างขึ้นต่อไปในอนาคตแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนั้น กสทช. ยังขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่เป็นช่วง 885-890/930-935MHz ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ ซึ่งในกรณีจะต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ต้องดำเนินการในกรณีแรก ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินงานของผู้ชนะใบอนุญาตคลื่น 900 MHz
“ดีแทคยังคงเดินหน้าเจรจากับ กสทช เรื่องมาตรการคุ้มครองลูกค้าใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้งานของลูกค้าดีแทค หลังจากสิ้นสุดสัมปทานระหว่างดีแทค และ CAT ในวันที่ 15 กันยายน 2561 ดีแทคได้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช อย่างเคร่งครัดที่จะให้บริการอย่างต่อเนื่องสำหรับลูกค้าจำนวนมากที่ยังคงใช้งานอยู่บนคลื่น850 MHz และ 1800 MHz เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกค้า โดยถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างดีแทค และ กสทช ที่จะดำเนินตามแผนคุ้มครองลูกค้า ตามที่ กสทช ได้เคยดำเนินการร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นในช่วงสิ้นสุดสัมปทานที่ผ่านมา โดยตามหลักการนั้น มาตรการคุ้มครองลูกค้าให้ใช้งานบนคลื่นความถี่จะมีผลอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการจัดสรรคลื่นให้ผู้บริการรายใหม่” นายลาร์ส กล่าว
ข่าวเกี่ยวข้อง
ดีแทคชี้เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz มีความเสี่ยงต่อผู้ชนะประมูลและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมระยะยาว
http://www.dtac.co.th/blog/newsroom/900-mhz.html
dtac to participate in 1800 MHz spectrum auction but not in 900 MHz
Aiming to increase 4G network capacity and continue 2G services for millions of subscribers
August 8, 2018 – Total Access Communication Public Company Limited, or dtac, announces that the Board of Directors has agreed to submit an application for spectrum licensing for telecommunications service in the frequency band of 1800 MHz to the Office of National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC), but decline to participate in the 900MHz spectrum auction.
Mr. Lars Norling, CEO of Total Access Communication PLC or dtac, said: “dtac has considered the auction rules carefully and concluded participation in the 1800 MHz auction. The revised conditions of the 1800 MHz auction allow more flexibility for the bidders and facilitates competition. The effort to acquire the 1800MHz spectrum is a way of safeguarding customers’ interests to ensure uninterrupted services while we are taking all necessary preparatory measures, including the customer protection plan, to ensure that no customer is adversely impacted by the concession expiry. Adding 1800 MHz spectrum into the current spectrum portfolio will not only allow dtac to maintain 2G service for a large base of customers but will also increase 4G network capacity to serve the massive growth of data usage.”
dtac announces that it will not participate in the 900Mhz spectrum auction after the dtac management previously raised the serious concerns over the interference conditions in the final Information Memorandum that would cause operational risks and unpredictable costs. The auction conditions were announced in the Royal Gazette on July 9, stating the winner of the 900 MHz license is solely responsible for any and all interference with the future railway projects. NBTC also reserves the right to reshuffle the spectrum if needed, with the licensee responsible for any additional filter installations. This represents unprecedented level of risk and uncertainty for a winning bidder of the 900 MHz spectrum.
“dtac is still in talks with NBTC about the remedy measure to prevent any interruptions to our customers’ usage of their SIMs despite the expiration of concession between dtac and CAT on September 15, 2018. We strictly follow the NBTC notification to temporarily provide services to a large number of active subscribers on 850 MHz and 1800 MHz, whose interests must be protected. It is a joint responsibility between dtac and NBTC to provide them a protection plan for uninterrupted services, in the same manner as NBTC required other operators to do when their concessions expired in the past. In the principle, the protection period will be active until such spectrum is effectively reallocated to new operators.” said Mr. Norling.
Related news:
dtac raises concerns new requirements for winner of 900 MHz pose major challenges to industry