คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู ร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ กิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ และการสนับสนุนทุนวิจัย/พัฒนา เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย และเพื่อร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริง ตอกย้ำ True 5G “Driving Force of the Nation” ทรู 5G นวัตกรรมเพื่อสังคมไทย เพื่อสร้างนวัตกรในรั้วมหาวิทยาลัยที่จะเติบโตเป็นนักรบเศรษฐกิจรุ่นใหม่ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
“คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นผลิตบุคลากรและวิศวกรที่มีความรู้ มีทักษะและสามารถบุกเบิกองค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย  ล่าสุด  ร่วมมือกับกลุ่มทรู เปิด TrueLab@Chula Engineering เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ  เสริมสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ของนิสิต ให้สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากห้องเรียนมาทดลอง วิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมได้  โดยเฉพาะ 5G และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มั่นใจว่า TrueLab@Chula Engineering จะเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ และเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิดระบบนิเวศของการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการ 5G ของประเทศต่อไป”
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “TrueLab เป็นโครงการความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างกลุ่มทรูและสถาบันการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาระบบนิเวศบริการครบวงจรสำหรับคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา เพื่อสร้างนักวิจัยและนวัตกรไทยจากรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “STARTUP” ผ่านการสนับสนุนในด้าน Startup seed fund แหล่งทุนเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานนวัตกรรม, Talent Recruitment  การเฟ้นหานวัตกรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อช่วยพัฒนาไอเดียและต่อยอดในเชิงธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง, Assessment Center ช่วยประเมินความถนัดและความสามารถ เพื่อวางแผนการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ, Research & Development Fund สนับสนุนทุนวิจัย, The future job and digital training ศูนย์บ่มเพาะและอบรมความรู้ด้านดิจิทัล, University 4.0 สนับสนุนดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในมหาวิทยาลัย และ Privilege as a member  สิทธิพิเศษจากโครงการ TrueLab  เชื่อมั่นว่า TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ที่มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะสร้างคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิต คณาจารย์ และสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศไทย”
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีที่กลุ่มทรูได้เข้ามามีส่วนร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ  ซึ่งสอดคล้องกับความตั้งใจของกลุ่มทรูในการส่งเสริมศักยภาพระบบการศึกษาของไทย สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและแข่งขันได้กับนานาประเทศ ในฐานะที่กลุ่มทรูเป็นภาคเอกชนไทยที่ให้ความสำคัญและมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เราต้องการสนับสนุนให้มีการนำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยี 5G ที่จะเปลี่ยนมิติการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือกับภาคการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการร่วมพัฒนานวัตกรรม 5G ด้วยการผสานศักยภาพความพร้อมของกลุ่มทรู ทั้งเครือข่ายสื่อสารดิจิทัล ความรู้และความชำนาญ กับองค์ความรู้ของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ เพื่อสร้างนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ที่จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย”
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ  ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริงทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี  โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ  ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ  สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ตั้งอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 1 คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีขนาดพื้นที่ประมาณ 570 ตารางเมตร สุดล้ำกับเครือข่าย 5G และระบบเทคโนโลยีสื่อสารพื้นฐาน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ WiFi ครอบคลุมทั่วพื้นที่ใน TrueLab เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium) พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง, ห้องสำนักงาน และ พื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันใช้งานได้หลายรูปแบบ
SHOWCASE
• การจำลองการใช้งานเทคโนโลยี 5G ผ่าน Use Case ต่างๆ ได้แก่
1. Drone: โดรนขนาดยักษ์ กว้างถึง 1.2 เมตร สามารถขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า และเดินทางได้ในระยะทางที่ไกลกว่าโดรนทั่วไป พร้อมแพลตฟอร์มในการสั่งการและควบคุมทางไกล ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อโครงข่าย 5G ในอนาคต
2. Rock-Paper-Scissor with Robot Arm: เป่ายิงฉุบแบบไม่ธรรมดากับหุ่นยนต์มือกลที่สามารถควบคุมการทำงานด้วย 5G ควบคู่กับ Machine Learning ที่เรียนรู้ท่าทางต่างๆ ของคน
• โครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาฯ และ กลุ่มทรู ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G
1. ระบบการจัดการเตียงโรงพยาบาลเพื่อป้องกันผู้ป่วยตกเตียง (Cloud Managed Hospital Bed)
กลุ่มเตียงโรงพยาบาลที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถของผู้ป่วย และในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสพลัดตก จะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลหรือพยาบาล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก
รองรับระบบสื่อสารและส่งสัญญาณผ่านโครงข่าย 5G ที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณจากเตียงผู้ป่วยจำนวนมากได้ในพื้นที่จำกัด ทั้งยังมีความแม่นยำและปลอดภัยในการส่งข้อมูล พร้อมเชื่อมโยงกับระบบ Cloud ที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลจากเตียงผู้ป่วยแต่ละเตียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Autonomous vehicle for Delivery: รถขนส่งสินค้า ที่สั่งการ ควบคุมความเร็ว เบรก และพวงมาลัยด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า พร้อมด้วยระบบการควบคุมการทำงานของรถแบบอัตโนมัติที่พร้อมรองรับการ
เชื่อมต่อและสั่งงานผ่านโครงข่าย 5G ทั้งการขับขี่ จอดรถ และการรับและส่งสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่ง
สามารถต่อยอดใช้งานได้ทั้งในโรงงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล พื้นที่ธุรกิจและที่อยู่อาศัย
Smart CU-Pop Bus: Smart bus ที่พัฒนาเพื่อรองรับการส่งสัญญาณผ่านโครงข่าย 5G โดยมีการ
ติดตามตำแหน่งรถและถ่ายทอด VDO จากกล้องติดรถที่มีความละเอียดระดับ 4K พร้อมระบบวิเคราะห์
ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาสภาพการใช้รถ สภาพการจราจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรถและความปลอดภัยในการเดินทาง พร้อมกับมีบริการ WiFi ภายในรถด้วย
ผลงานนวัตกรรมจากนิสิต จุฬาฯ
1. Help Mee: IoT เพื่อความปลอดภัย ในพื้นที่จุฬาฯและสยามสแควร์ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือตามจุดต่างๆทั่วพื้นที่ เพื่อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น กรณีประสบเหตุร้าย สามารถกดปุ่นส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ระบบจะส่งข้อมูลจุดที่ติดตั้งกล่องเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว พร้อมมีการบันทึกและรวบรวมข้อมูลการขอความช่วยเหลือไว้ในระบบด้วย
2. กังหันลมชาร์จแบตเตอร์รี่สำรอง: กังหันลมขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย ใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาด เปลี่ยนพลังงานลมเป็นกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าแบตเตอร์รี่สำรองโดยไม่ต้องเฝ้าแบตเตอร์รี่ โดยระบบจะส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือเมื่อบรรจุไฟเต็ม นวัตกรรมนี้นอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ที่สามารถติดตั้งได้ตามสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดได้เมื่อมีการทำงานผ่านโครงข่าย 5G ที่ช่วยในการส่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลด้านพลังงานของแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้งานได้ในอนาคต
3. PM 2.5 Sensor for All: ต้นแบบนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 และเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศผ่านโครงข่าย NB-IoT ของทรู ซึ่งนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 จากการพัฒนาในครั้งนี้ จะนำไปติดตั้งและเก็บข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ของจุฬาฯ ผ่านเครือข่าย NB-IoT และจะจัดทำช่องทางการรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ และจัดเก็บค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับงานวิจัยต่อไป
4. Cloudero: ผลงานที่ชนะประกวดโครงการ TrueLab StartUp Eco-Build ซึ่ง Cloudero เป็นแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงระหว่าง Influencer กับ ลูกค้า ที่สามารถช่วยให้เจ้าของสินค้าสามารถเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเองได้ โดยการเก็บข้อมูล Influencer แล้ว Matching กับสินค้าของลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกและเปรียบเทียบความน่าสนใจของ Influencer แต่ละรายได้

Comments

comments