ปี 2563 เป็นปีที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคนไทยและทั่วโลก ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน ทว่ากลุ่มทรูยังคงทำหน้าที่ดูแลคุณภาพเครือข่ายอย่างดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยมั่นใจใช้งานได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อการสื่อสารที่ดีที่สุดของคนไทยในทุกสถานการณ์ อะไรคือเคล็ดลับของการก้าวสู่ความสำเร็จ วันนี้จึงขอมาพูดคุยกับคุณจิระชัย คุณากร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการโครงข่าย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หัวหน้าทีมเน็ตเวิร์คกลุ่มทรูแบบเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จกับภารกิจที่ต้องพัฒนาเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ทรูมูฟ เอช รักษาแชมป์ 5 ปี เครือข่ายยอดเยี่ยมที่ดีที่สุดในไทย รวมทั้งทรูออนไลน์ ยังคว้ารางวัลอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ที่ดีที่สุดในไทย และไฟเบอร์ที่ดีที่สุดประจำปี 2563 จากสถาบันทดสอบคุณภาพอินเทอร์เน็ตระดับโลก nPerf ครั้งสำคัญครั้งนี้
คุณจิระชัย เล่าให้ฟังว่า เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทีมงานจะต้องไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นสิ่งที่กลุ่มทรูให้ความสำคัญ คือ
1 . การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี
“สิ่งเดียวที่กลุ่มทรูให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ พัฒนานวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นเทคโนโลยี 5G ซึ่งเราได้พัฒนาและทดสอบ 5G มาตั้งแต่ปลายปี 2559 เริ่มจากทดสอบเทคโนโลยี FDD Massive MIMO 32T32R ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับ 5G โดยมีจุดเด่นที่การกระจายช่องสัญญาณให้สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนได้ ช่วยเพิ่ม capacity ถึง 4 เท่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น จนกลางปี 2561ได้เปิดให้บริการ FDD Massive MIMO 32T32R รายแรกของโลก โดยให้ใช้งานในบริเวณที่มีการใช้งานหนาแน่น ได้แก่ บริเวณมหาวิทยาลัยสยาม ถนนเพชรเกษม และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง รวมถึงการพัฒนาและทดสอบระบบส่งสัญญาณ 5G ต้นแบบสำเร็จเป็นรายแรกในไทย โดยใช้เทคโนโลยีตัวส่งสัญญาณแบบMassive MIMOในระบบ TDD บนย่านความถี่สูงสำหรับ 5G ในปี 2560 และเปิดให้ทดสอบเทคโนโลยี LAA (Licensed Assisted Access) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยปี 2561 ซึ่งเป็นการนำคลื่นความถี่แบบ Unlicensed มาใช้งานด้วยเทคโนโลยี LTE หรือการนำ WiFiมาใช้บนเทคโนโลยี 4G เพื่อเพิ่มขีดสุดแห่งความเร็วในการส่งข้อมูล และเพิ่มแบนด์วิธให้กว้างขึ้น รวมถึงตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2563 ทรูได้ลงทุนเพิ่มในการขยายสถานีฐานโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด TDD Massive MIMO 64T64R เพื่อรองรับ 5G ที่ย่านความถี่สูง 2600 MHz ในพื้นที่ที่มีการใช้งานดาต้าหนาแน่น ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น และตอบสนองการใช้งานของลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องทำงานจากที่บ้านหรือ WFH ซึ่งต้องใช้การเชื่อมต่อที่เสถียรและรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ เรายังเป็นรายแรกที่ขยายเพิ่มสัญญาณ 5G ในสถานที่สำคัญอาทิ แหล่งธุรกิจ รถไฟฟ้าใต้ดิน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าในช่วงวันหยุด เช่น ภูกระดึง ภูเรือ ดอยอินทนนท์ ดอยม่อนแจ่ม เกาะรอก เกาะสิมิรัน เกาะหลีเป๊ะ เป็นต้น ทรูยังได้ริเริ่มให้บริการ 5G ในรูปแบบโครงข่าย SA ( Standalone) เพื่อรองรับบริการใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนี้อีกด้วย และเมื่อปลายปี 2563 ทรูเป็นผู้นำรายแรกในประเทศไทยที่เริ่มขยาย 5G ด้วยคลื่นย่านความถี่ต่ำ 700 MHz. ที่มีจุดเด่นและสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล มีอำนาจทะลุทะลวงสูงในการเข้าสู่ภายในตัวอาคารได้ดี ทำให้ลูกค้าทรูไม่พลาดทุกการติดต่อสื่อสารในโลก 5G และทรูกำลังทดสอบการให้บริการคลื่น 5G ในคลื่นความถี่ใหม่ที่เรียกว่า mmWave ซึ่งคาดว่าพร้อมให้บริการในปี 2564 ด้านทรูออนไลน์ เรายังมุ่งมั่นส่งมอบประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุดแก่ลูกค้ามาโดยตลอด โดยเดินหน้าลงทุนนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัล และการการสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ให้คนไทยเสมอมา รวมถึงมาตรฐานความเร็ว 1 Gbps รายแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังพัฒนานวัตกรรมเสริมอีก คือ Band Steering นวัตกรรมที่รวมทุกคลื่นความถี่ (2.4 GHz และ 5GHz) เป็นหนึ่งเดียว ลูกค้าไม่ต้องคอยสลับสัญญาณเอง นวัตกรรมนี้จะเลือกสัญญาณ WiFi ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าอัตโนมัติด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีระดับโลกที่นานาชาติใช้กัน กลุ่มทรูก็จะลงทุน และนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายตลอดเวลา”
2. ติดตามเทรนด์ตลอด
คุณจิระชัยกล่าวเสริมว่า “เมื่อลงทุนพัฒนาโครงข่ายแล้ว เราต้องติดตามเทรนด์ตลอด ว่าตอนนี้ลูกค้ามีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร กระแสนิยมการใช้งานในช่วงนั้นเป็นแบบไหน เช่น ช่วงโควิดคนอยู่บ้านเบื่อๆ ก็นิยมเล่น TikTok ทีมเน็ตเวิร์คก็ต้องคอยดูแลการใช้งานให้ราบรื่นไม่สะดุด โดยได้ขยายแบนด์วิธเพิ่มเป็น 3 เท่าของการขยายงานปกติ ทั้งแบนด์วิธภายในประเทศ (Domestic Bandwidth) ที่เชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกตเวย์ภายในประเทศ และแบนด์วิธไปต่างประเทศ (International Bandwidth)ให้พร้อมรองรับการเชื่อมต่อคอนเทนต์บันเทิง หรือติดตามข่าวสาร การประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เรียกว่าต้องรองรับทั้งการทำงานที่บ้าน การเรียนที่บ้าน หรือออนไลน์ตามไลฟ์สไตล์ต่างๆ ภายในบ้านได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด”