ภายใต้สถานการณ์ที่ยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดและความท้าทาย AIS ก็ยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการนำศักยภาพ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรม ตอกย้ำความเป็น 1 ตัวจริง และผู้นำตลาดที่พร้อมขับเคลื่อนทุกภาคส่วนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ก็ตาม ล่าสุดได้ผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ZTE ร่วมกันขยายศักยภาพ 5G ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาเพื่อพลิกโฉมโรงงานธรรมดาสู่การเป็น โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) จาก AIS 5G Total Solutions ไม่ว่าจะเป็น 5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ, Inspection หุ่นยนต์ลาดตระเวน, 5G AR Remote Guidance ควบคุมการทำงานจากระยะไกล, VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์ และ Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ


นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า “หลังจากที่ AIS ได้ประกาศเปิดตัวให้บริการ AIS 5G เป็นรายแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ด้วยการถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่เชื่อว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นหัวใจหลักในการช่วยทรานสฟอร์มและขับเคลื่อนภาคการผลิตทุก Sector เห็นได้ชัดเจนจากการที่เราได้ลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาทในปี 2563 และเตรียมงบลงทุนกว่า 25,000-30,000 ล้านบาทในปี 2564 เพื่อพัฒนาคุณภาพของ เครือข่าย AIS 5G จน ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานใน EEC 100% ตลอดจนพื้นที่สำคัญด้านสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาด


โดยครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญกับภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ZTE ที่ร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งานภาคอุตสาหกรรมได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำงานครั้งนี้เรามุ่งเน้นไปที่การสร้าง Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ ให้มีความสามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้ด้วย 5G Total Solutions for Industrial ที่ได้นำเอาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล AIS 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 2600 GHz แบบ SA (Standalone) คลื่นความถี่ย่านกลางที่มีคุณสมบัติอย่างดีเยี่ยมในการทำ Use Case ซึ่งจะช่วยลดความหน่วง (Latency) และรองรับ IoT เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างเป็นต้นแบบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการยกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการ พร้อมทรานส์ฟอร์มกระบวนการขั้นตอนการผลิต ท่ามกลางบริบทของภาคอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว”


รองศาสตราจารย์ ดร. พีระพงษ์ อุฑารสกุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อธิบายว่า “ความร่วมมือระหว่าง AIS และ ZTE ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญที่จะพัฒนาการทำงานของภาคอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิงด้วยเทคโนโลยี 5G ซึ่งการทำงานร่วมกันในครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในเรื่องการวิจัย ปรับแปลง ถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเทคโนโลยี 5G สู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับสากล ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นและประเทศ ที่จะทำให้นักศึกษา ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และคนทั่วไปได้ร่วมกันนำนวัตกรรมจากเทคโนโลยี 5G ไปขยายผลต่อไป”


ความน่าสนใจในการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับโรงงานในครั้งนี้คือ การมุ่งที่จะตอบโจทย์พฤติกรรมและการทำงานของฝ่ายผลิตภายในโรงงานในทุกส่วนให้สามารถสอดประสานกันผ่าน 5G ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งในส่วนของ “5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ” ครั้งแรกที่อุปกรณ์ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความชาญฉลาดทำงานแบบ Machine to Machine สามารถสร้างแผนที่และเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และตรงเวลา นับป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานภายในโรงงาน คลังสินค้า หรือแม้แต่ฝ่ายผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น


นอกจากนี้ AIS และพันธมิตรยังได้พัฒนาโซลูชั่นอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมการทำงานภายในโรงงานให้มีความอัจฉริยะมากขึ้นด้วย “5G Inspection หุ่นยนต์ลาดตระเวน” ที่จะทำหน้าที่เหมือน รปภ. สอดส่องดูแลพื้นที่ต่างๆ มีความสามารถในการจดจำใบหน้าและแจ้งเตือนเหตุน่าสงสัยภายในพื้นที่ได้ “5G Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ” ที่ถูกพัฒนาความสามารถให้ดีขึ้นเหมาะสมกับการใช้งานภายในโรงงานและฝ่ายผลิต โดยแขนกลอัจฉริยะตรวจสอบคัดแยกและเลือกหยิบสินค้าหรืออุปกรณ์ได้หลายขนาด จากเดิมที่เคยหยิบอุปกรณ์หรือสินค้าได้ชนิดเดียว “5G AR Remote Guidance ควบคุมการทำงานจากระยะไกล” เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เครื่องมือนี้จะช่วยให้การควบคุมการทำงานของฝ่ายต่างๆ การอบรมเทรนนิ่ง การแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำได้โดยที่ทุกคนไม่ต้องมาอยู่ที่หน้างานทั้งหมด ด้วยเทคโนโลยีที่จะทำให้เหมือนกับเราทำงานอยู่ที่เดียวกัน และสุดท้าย “5G VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์” เครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่ Material ไปจนถึงตัวสินค้า (Finish Goods)


นายหลิง จื้อ รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชั่น กล่าวเสริมว่า “ZTE ในฐานะของผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีระดับโลก ที่มีกลุ่มลูกค้าองค์กรภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานสำคัญ โดยที่ผ่านมาเราได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมอุตสากรรมหลักมากกว่า 15 อุตสาหกรรม ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของความร่วมมือกับ AIS และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการพัฒนาโซลูชั่น 5G end-to-end ที่ชาญฉลาด สำหรับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งเรามีความคาดหวังที่ตอบสนองภาคการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถ ยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตก้าวไปสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี 5G”


“AIS ยังคงเดินหน้านำศักยภาพ 5G สู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ช่วงเวลาที่มีข้อจำกัดมากมาย สำหรับเรานั่นคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการไม่หยุดพัฒนาและมองหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอเรายังคงยึดมั่นในวิถีการทำงานที่ร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาและส่งมอบบริการหรือโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าจนทำให้เราได้ Use Case ของโรงงานอัจฉริยะขึ้นมาได้ ซึ่งแน่นอนว่าเรามีความพร้อมที่จะเชื่อมต่อนวัตกรรมเทคโนโลยีรวมถึงการยกระดับประเทศให้เข้าสู่การมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอัจฉริยะที่แข็งแกร่งเป็น 5G Total Soultions for Industrial เพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และทุกๆ ภาคส่วนต่อไป” นายธนพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

รวมเทคโนโลยี  AIS 5G x ZTE x ม.สุรนารี Smart Factory โรงงานอัจฉริยะ 

 

  • 5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายสินค้าอัตโนมัติ 
  • เพื่อระบบโลจิสติกส์อัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผสมผสานเทคโนโลยี 5G, AI, และการในทางด้วยเลเซอร์ในระบบเดียวกัน
  • สร้างแผนที่และเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง หลบหลีกสิ่งกีดขวางอัตโนมัติ
  • รองรับน้ำหนักได้ถึง 300 กก.
  • ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และตรงเวลา  

AGV (Automated Guided Vehicle) หรือ รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ ถูกพัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพความชาญฉลาดมากกว่าเดิมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานภายในโรงงาน ด้วยนวัตกรรมการทำงานบนเครือข่าย 5G ผนวกกับเทคโนโลยีของพาร์เนอร์ทำให้ 5G Cloud AGV ที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้สามารถทำงานได้แบบ Machine to Machine และสามารถสร้างแผนที่ รวมถึงขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

จากเดิมที่ AGV ถูกควบคุมโดยใช้แถบแม่เหล็กหรือ เลเซอร์เป็นเส้นทางขับเคลื่อนเท่านั้น ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาการใช้ AGV ภายในโรงงาน หรือฝ่ายผลิตที่มีการปรับเปลี่ยนไลน์การผลิตบ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้นับเป็นนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถในการหลบหลีก สร้างแผนที่ไปยังเป้าหมายได้เอง  ก็ไม่ต้องดำเนินการวางเส้นทางด้วยแทบแม่เหล็กใหม่ทั้งหมด ด้วยการนำ 5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ มาใช้ก็จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ 

  • 5G Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ 
  • เคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
  • ตรวจสอบชิ้นงานที่บกพร่อง ตัวอักษร หรือแม้แต่รอยขีดข่วน บนชิ้นงาน ด้วยความแม่นยำสูง
  • คัดแยกและเลือกหยิบสินค้าโดยอัตโนมัติ

เครื่องมือหยิบจับวัตถุ หรือสินค้าอย่าง แขนกลอัจฉริยะ จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากภายในโรงงานฝ่ายผลิต เพราะการพัฒนาได้ถูกยกระดับไปให้อีกขั้นให้แขนกลอัจฉริยะสามารถเลือกหยิบวัตถุได้หลากหลายขนาด จากเดิมที่หยิบได้เพียงขนาดเดียว สามารถตรวจสอบชิ้นงานที่บกพร่อง ตัวอักษร หรือแม้แต่รอยขีดข่วน บนชิ้นงาน ซึ่งจะทำให้เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

  • 5G Inspection หุ่นยนต์ลาดตระเวน 
  • จดจำเส้นทางและกำหนดเส้นทางล่วงหน้า
  • เคลื่อนที่อัตโนมัติไปในเส้นทางที่กำหนด พร้อมหลบหลีกสิ่งกีดขวางอัตโนมัติ
  • ระบบกล้องตรวจสอบ บันทึกภาพและอุณหภูมิ และส่งต่อไปยังศูนย์ควบคุม
  • ระบบจดจำใบหน้าและตรวจสอบการสวมหน้ากาก
  • สลับภาพดูได้หลายมุมมอง และแจ้งเตือนภัยด้วยเสียงเมื่อมีเหตุน่าสงสัย
  • รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง

ความปลอดภัยภายในพื้นที่นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ละเลยไม่ได้ 5G Inspection หรือหุ่นยนต์ลาดตระเวน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ รปภ. ที่จะดูแลความปลอดภัยสูงสุดให้กับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง สามารถควบคุม แจ้งเตือนการเข้าโซนพื้นที่จำกัดต่างๆ ได้ อีกทั้งหุ่นยนต์นี้ยัง สามารถจดจำใบหน้า และแจ้งเตือนเหตุน่าสงสัย ได้อีกด้วย

  • 5G AR Remote Guidance ควบคุมการทำงานจากระยะไกล 
  • ให้คำปรึกษาและควบคุมการทำงานจากระยะไกล
  • สื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์ ทั้งภาพและเสียง
  • พร้อมคำแนะนำการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญจากระยะไกล
  • พร้อม AR function เพื่อเสริมการสื่อสารระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับผู้ใช้งาน
  • รองรับการสั่งงานด้วยเสียง พร้อมซอร์ฟแวร์ตรวจจับสิ่งที่ต้องการอัตโนมัติ

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในโรงงานให้มีความสมาร์ทมากยิ่งขึ้นด้วยเครื่องมือที่ช่วยทำให้สามารถควบคุมการทำงานจากระยะไกลได้ จากปัญหาของเครื่องจักร หรือไลน์การผลิตที่บางครั้งอาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ให้คำแนะนำหรือต้องชี้แจ้งเรื่องต่างๆ กับพนักงานหน้างาน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปที่หน้างาน เราสามารถใช้อุปกรณ์ 5G AR Remote Guidance พูดคุย หรือแนะนำเรื่องต่างๆ ผ่านหน้าจอปลายทางแบบเสมือนจริงได้เลย นวัตกรรมนี้จะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน้างานกับฝ่ายเทคนิค ฝ่ายควบคุมการผลิต ทำงานได้อย่างสอดประสานลดระยะเวลาและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • 5G VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์
  • ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์
  • ตรวจสอบการทำงาน ควบคุมประสิทธิภาพการผลิต
  • มุมมองสมจริงแบบ 360 องศา

อีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้การควบคุมคุณภาพการผลิตทั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบไปจนถึงการได้มาซึ่งสินค้า (Finish Goods) โดย 5G VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์ จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพหรือความผิดปกติของสินค้าต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีความแม่นยำที่สูง โอกาสผิดพลาดต่ำมาก ทำให้ได้สินคุณภาพมาตรฐานของสินค้าอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด

 

Comments

comments