โควิด-19 ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่หันมาพึ่งพาเทคโนโลยี พร้อมโฟกัสที่ตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งดึงกลยุทธ์ต่างๆ มาสร้างสีสันช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยิ่งตลาดเติบโต คู่แข่งก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และไม่มีอะไรที่การันตีว่าจะขายดีได้อีกนานแค่ไหน โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอพิษโควิดอีกระลอก

ทรู 5G เดินหน้าช่วยผู้ประกอบการไทยให้ยืนได้ในยุคโควิด สานต่อภารกิจเคียงคู่คนไทยสู้โควิด-19 เชิญกูรูผู้เขียนหนังสืออัจฉริยะการตลาด “ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล” มาร่วมเผยเคล็ดลับการตลาด พร้อมถ่ายทอดมุมมอง เทคนิค และให้คำแนะนำทั้งสิ่งที่ควรทำและห้ามทำ ในงานสัมมนาออนไลน์ “การตลาดยุคโควิดระลอก 3 SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร?” ที่จัดขึ้นผ่านแพลตฟอร์ม True VROOM

 

โควิด-19 สร้างภาวะช็อกทั่วโลก

โควิด-19 ไม่ได้สร้างปัญหาให้ด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังลามมาถึงด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล เผยว่า ตั้งแต่ทำอาชีพนักการตลาดมากว่า 10 ปี วิกฤตครั้งนี้ทำให้เหมือนอยู่ในภาวะช็อก สิ่งที่เคยคาดการณ์ไว้ ไม่เป็นไปตามนั้น ภาวะช็อกไม่ได้เกิดที่ประเทศไทยเท่านั้น จะเห็นได้ว่าแม้แต่แบรนด์หรือห้างสรรพสินค้าระดับโลกต่างก็ล้มให้เห็นกันแล้วในช่วงโควิดที่ผ่านมา ทำให้ต้องตระหนักว่าเราอยู่ในยุคที่อันตราย ดังนั้นการตลาดจึงไม่สามารถใช้ตำราหรือแนวคิดแบบเดิมๆ ได้ เช่น แนวคิด “เศรษฐกิจแบ่งปัน” (แชร์ ริง อีโคโนมี) หรือการสร้าง Consumer Experience ผ่าน Sense ที่ประกอบไปด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส ซึ่งใช้ไม่ได้ในยุคโควิด

 

3 สิ่งที่ห้ามทำ “ตัด-ตุน-ตบตา” หากอยากให้ธุรกิจไปต่อได้

เมื่อทุกคนช็อก วิธีที่พบได้มากคือ ตัดราคา ซึ่งจะทำให้ขายได้ในช่วงแรกๆ แต่เหมือนเป็นกับดัก เพราะหลังจากนั้นจะพบว่าคู่แข่งจะลดราคาได้มากกว่าเรา สุดท้ายคือตายทุกคน การตัดราคาอาจช่วยให้ขายได้ในระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่จะไม่สามารถเพิ่มราคาเท่าเดิมได้ การตุนราคา หรือรับเงินเข้ามาแต่ยังไม่ให้ของเป็นอีกวิธีที่ไม่ควรใช้ หลายร้านค้าเริ่มใช้วิธีการนี้ เช่น ร้านสปา การตบตา หรือไม่ทำตามกฎเกณฑ์ การทำธุรกิจโดยเฉพาะในช่วงนี้มีข้อห้ามเยอะต้องศึกษาให้ดี เราจะเห็นข่าวตำรวจเข้าจับร้านที่แอบขายเหล้า หรือผับ ฯลฯ การทำเช่นนี้เป็นการเปิดช่องให้คู่แข่งเล่นงานได้ คำถามคือแล้วควรทำอย่างไรถ้าอยากให้ธุรกิจได้ไปต่อ อยากให้ท่องคำนี้ “FORGET AND MOVE-ON ลืม แล้วไปต่อ”

 

ตัดต้นทุนได้ แต่ต้องไม่ทำร้ายลูกค้า

สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ เราจะตัดต้นทุนได้อย่างไรบ้าง หากเคยใช้ต้นทุนค่อนข้างมาก จะต้องทำต้นทุนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เคยใช้โฆษณาเยอะสามารถทำได้เหมือนเดิม แต่เลือกใช้เครื่องมือที่ตรงใจและตรงกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่าเดิม เป็นต้น การตัดต้นทุนทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัดต้นทุนการตลาด คน สินค้า สินค้าคงคลัง การผลิต แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ทำร้ายลูกค้า บางครั้งเราตัดต้นทุนในเรื่องของการเงิน แต่สามารถใส่ใจลงไปแทนได้

 

4 สิ่งควรทำ จับ-จิก-เจาะ-จุนเจือ

ก่อนหน้านี้การตลาดจับกระแส ถูกมองว่าใช้ได้เพียงระยะสั้น แต่ยุคนี้ไม่มีใครรู้ว่าระยะยาวจะเป็นอย่างไร ต้องจับกระแสให้เป็น แล้วทำการตลาด ถ้าอยากรู้เทรนด์ ต้องหาเครื่องมือช่วยอย่างเว็บไซต์ BuzzSumo.com หรือ Google Trends สำหรับ Facebook และ IG ดูเทรนด์ได้ที่ https://trend.wisesight.com  อีกสิ่งที่สำคัญคือ การตลาดจิกลูกค้า ที่กลายเป็นจิกแบบดิจิทัล จะเห็นว่าเวลาเราพูดถึงอะไร โฆษณาสิ่งนั้นก็ตามมา มันมาได้อย่างไร คำตอบคือ มีเครื่องมือดิจิทัลที่ต้องใช้ให้เป็น เช่น Facebook Pixel สมัยนี้บูสต์โพสต์แล้วต้องติดตามลูกค้าได้ด้วย ทำให้ลูกค้าเห็นเรื่อยๆ สุดท้ายก็ซื้อ หรือจะใช้ Google Tag Manager ก็ได้ อีกวิธีคือการตลาดเจาะกลุ่ม ใช้โอกาสที่ลูกค้าที่มีความชอบแบบเดียวกันมาอยู่บนออนไลน์ เช่น เพจต่างๆ ทำการตลาดผ่านแอดมิน ต้นทุนการตลาดไม่แพง สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนจนเกิดการซื้อจริงๆ  อีกสิ่งสุดท้ายที่ธุรกิจควรทำคือ ต้องไม่ลืมการตลาดจุนเจือ (สังคม) มีบางโมเดลธุรกิจที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย เช่น ขายมะม่วงให้ปางช้าง เป็นการช่วยเกษตรกรที่มะม่วงล้นตลาด ช้างที่ตกงานได้อาหาร คนซื้อรู้สึกสบายใจ ธุรกิจรูปแบบนี้จะมีความจำเป็นมากขึ้นในยุคโควิด ในวันที่ทุกคนลำบาก การช่วยเหลือผู้อื่นได้ จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้ดีขึ้นในระยะยาว  

วิกฤตครั้งนี้เกิดผลกระทบต่อหลายธุรกิจ ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด ความรู้เหล่านี้เป็นเหมือนยาที่ต้องใส่เข้าไปในธุรกิจ แต่อาจมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม สิ่งที่สำคัญคือการลงมือทำ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เคล็ดลับให้ธุรกิจเดินต่อ รับชมงานสัมมนา “การตลาดยุคโควิดระลอก 3 SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร” ย้อนหลังแบบเต็มๆ ได้ที่ ยูทูป: TrueBusiness สามารถติดตามกิจกรรมงานสัมมนาดีๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก : TrueBusiness

 

#True5G #comeTRUEwithTRUE5G #BESTwithTRUE5G

 

Comments

comments