ดีแทครุกตลาดแรงงานข้ามชาติในไทยไตรมาส 2 ตอกย้ำแบรนด์อันดับ 1 ในใจชาวเมียนมา และกัมพูชา ล่าสุดเปิดตัวแคมเปญใหม่ภายใต้แนวคิด ‘เพื่อนคนแรกในไทย’ ดีแทคขอเป็นเพื่อนคนแรกที่ต้อนรับชาวเมียนมา และกัมพูชาอย่างรู้ใจตั้งแต่วันแรกที่มาถึงไทย  เพื่อนที่ไม่ทำให้รู้สึกไกลบ้านและเข้าใจทุกความต้องการพร้อมอยู่ดูแลข้างๆ ตลอดไป ด้วยการมอบประสบการณ์ใหม่จากซิมเพื่อเพื่อนชาวเมียนมา และกัมพูชา ได้เพลิดเพลินกับแอปโซเชียลมีเดีย เล่นเกมได้ไม่อั้น พร้อมโทรกลับบ้านที่เมียนมา กัมพูชา และโทรเบอร์ดีแทคในราคาสุดคุ้ม บริการใจดีให้ยืม พูดภาษาเดียวกันผ่านดีแทคแอป และคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมา กัมพูชา และสิทธิพิเศษจากดีแทค รีวอร์ด คอยน์ให้แลกรับเน็ตฟรี โทรฟรี ส่วนลดอาหารเครื่องดื่มจากแบรนด์ดัง ทั้งหมดนี้ดีแทคตั้งใจมอบให้เพื่อนชาวเมียนมา และกัมพูชา ได้มีความสุขในทุกวันที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

แรงงานข้ามชาติ 76% ใช้ดีแทค

จากมติคณะรัฐมนตรี ออกใบอนุญาตทำงาน (Work permits) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา ดีแทคมีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นเป็น 76% ในเดือนเมษายน 2566 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกในไทยที่ทำการตลาดเจาะกลุ่มผู้ใช้บริการชาวเมียนมา และกัมพูชา มายาวนานที่สุด ตั้งแต่สิงหาคม 2554 โดยยึดเอาแนวทางทำตลาดจาก Insight ที่เข้าใจความต้องการของเพื่อนๆแรงงานข้ามชาติมากที่สุด ก้าวต่อไปจากนี้ ดีแทคมุ่งนำกลยุทธ์การตลาดที่รวมศักยภาพทรูและดีแทค เพื่อส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์ที่เหนือกว่า (Champion Growth Beyond the Core) พร้อมร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลในทุกภาคส่วน (Digital Inclusion ) สร้างประสบการณ์ใหม่ไร้รอยต่อให้กับเพื่อนแรงงานข้ามชาติ ด้วยบริการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของชาวเมียนมาและกัมพูชาตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

ส่องไลฟ์สไตล์ชาวเมียนมา และกัมพูชาในไทย

ปัจจุบันมีแรงงานเมียนมาและกัมพูชาที่ทำงานและพักอาศัยอย่างถูกกฏหมายในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2ล้านคน ข้อมูลจากกรมจัดหางานในเดือนเมษายน 2566 จากการสัมภาษณ์ลูกค้าชาวเมียนมา และกัมพูชา ในปี 2562 ถึงปัจจุบัน

  • ทำงานเก็บเงินส่งกลับบ้านประมาณ 40-50% ของรายได้ จากสถิติการโอนเงินจาก True money transfer ระบุว่า ลูกค้าเมียนมาโอนเงินกลับไปให้คนที่บ้าน เฉลี่ย 18,000 บาทต่อเดือน และลูกค้ากัมพูชา เฉลี่ย 12,000 บาทต่อเดือน (ข้อมูลการโอนตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2566)
  • 80% ใช้สมาร์ทโฟน ราคาประมาณ 4,000 – 6,000 บาท โทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 เป็นทั้งแหล่งความบันเทิงคลายเหงา อัปเดตข่าวสารที่เมียนมา กัมพูชา
  • ในปี 2565 แรงงานข้ามชาติที่เป็นลูกค้าดีแทค มีปริมาณการใช้งานดาต้า (Data) เพิ่มขึ้นรวม +39%ขณะที่การใช้งานการโทร (Voice) ลดลง -19% เมื่อเทียบกับการใช้งานในปี 2564
  • การใช้งานดาต้า 3 ประเภทที่โตขึ้นจากปีที่แล้ว
    1.) โซเชียลมีเดีย โตขึ้นจาก 64% เป็น 86% และแอปยอดนิยม 5 อันดับ คือ Facebook/ YouTube/ FB messenger/ Instagram/ TikTok
    2.) สตรีมมิ่ง (Live) โตขึ้นจาก 58% เป็น 87%

3.) เกม โตขึ้นจาก 39% เป็น 63%

  • ดูละครผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น อาทิ Facebook แต่ก็จะเป็นละครที่เมียนมาเป็นหลัก ชาวเมียนมาที่ดูละครไทยจะเป็นคนที่อยู่ไทยมานาน จนฟังภาษาไทยรู้เรื่อง แอปที่ใช้เยอะคือ Facebook / Facebook Messenger / YouTube / TikTok / WhatsApp / Line ไว้คุยงานกับนายจ้างคนไทย

เพื่อนที่จะอยู่ซัพพอร์ตให้ได้รับสิ่งดีๆ ตลอดเวลาที่อยู่เมืองไทย

ดีแทคเข้าใจอินไซต์เป็นอย่างดี เราจึงอยากเป็นเพื่อนไทยคนแรกที่รอต้อนรับพวกเขาตั้งแต่วันที่เข้ามาเมืองไทยและเป็นเพื่อนที่จะอยู่ซัพพอร์ตพวกเขาให้ได้รับสิ่งดีๆ ตลอดเวลาที่อยู่เมืองไทย

  1. ชิมเมียนมา และกัมพูชา ที่คุ้มค่ามากที่สุด

– เล่นโซเชียลแอปไม่จำกัด 7 แอป Messenger/ Facebook/ TikTok/ Viber/ WhatsApp/ LINE/ Instagram
– เล่นเกมได้ไม่อั้น 4 เกม Free Fire/ ROV/ PUBG/ Mobile Legends
– โทรเบอร์ดีแทค ชั่วโมงละ 1 บาท ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น
– โทร 1 เบอร์คนพิเศษดีแทค ชั่วโมงละ 1 บาท ตลอด 24 ชั่วโมง
2. IDD 5+5+5 โปรโทรกลับบ้านที่เมียนมา/กัมพูชา สุดคุ้ม
โทรกลับบ้านที่พม่า/กัมพูชาครบ 5 นาที แถมฟรีอีก 5 นาที และฟรีโทรเฉพาะในไทยทุกเครือข่ายอีก 5 นาที

  1. บริการใจดีให้ยืม ค่าโทรหมด กดยืมดีแทคได้ก่อน ตลอด 24 ชั่วโมง (ค่าโทรที่กดยืม จะถูกหักอัตโนมัติหลังจากเติมเงินครั้งถัดไป)
  2. ดีแทคแอป รองรับทั้งภาษาพม่าและกัมพูชา ลูกค้าใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะเช็กยอดเงินคงเหลือ เติมเงิน ซื้อแพ็กเกจ หรือใช้บริการใจดี
    5. ใช้ดีแทค รีวอร์ด คอยน์ แลกสิทธิพิเศษได้มากมาย ทั้งของกิน ส่วนลดต่างๆ หรือแลกเน็ตฟรี แลกโทรฟรี

อ้างอิงข้อมูล * สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวhttps://www.doe.go.th/alien ฝ่ายทะเบียนและสารสนเทศ กกจ.ที่ 12/2566 สบต.

Comments

comments