อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เดินหน้าสานต่อพันธกิจในประเทศไทย เพิ่มความช่วยเหลือ เสริมความแข็งแกร่งด้านกลยุทธ์ในไทยด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน พร้อมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ การฝึกอบรมบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

อาลีบาบา คลาวด์ ได้รับการจัดอันดับจากการ์ทเนอร์ให้เป็นผู้บริการคลาวด์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดตัว Thailand Partner Alliance 100 ระบบนิเวศที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนพันธมิตรในท้องถิ่นและส่งเสริมการทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการตลาด การขายและสนับสนุนทางด้านเทคนิค องค์กรธุรกิจสามารถเข้าใช้งานเครื่องมือดิจิทัลที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนิเวศนี้ได้ และพันธมิตรด้านโซลูชัน (solution partners) จะได้รับผลกำไรที่แข่งขันได้ในระดับสูงเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หลักต่าง ๆ เช่น ECS, Database, Content Delivery Networks and Short Message Services รวมถึงการให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและเงินทุนด้านการผสานรวมเทคโนโลยีสำหรับพันธมิตรด้านโซลูชันที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนอาลีบาบา คลาวด์ สำหรับพันธมิตรด้านบริการ (service partners) จะสามารถเข้าใช้การสนับสนุนด้านการโยกย้ายการทำงานระหว่างระบบต่าง ๆ และได้รับคลาวด์เครดิตฟรี 

เซลินา หยวน ผู้จัดการทั่วไปด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของผู้ใช้งานบริการพับลิคคลาวด์ทั่วโลกจะอยู่ที่ 23.1 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อเทียบกับในปี พ.ศ. 2563[1] ด้วยอัตราการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก และโอกาสต่าง ๆ ที่ธุรกิจในท้องถิ่นจะได้รับจากระบบคลาวด์ ทำให้หนึ่งในพันธกิจหลักของเราคือการทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรไทย เพื่อเสริมศักยภาพการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้า ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่ทรงคุณค่าของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นสามารถรองรับและสนับสนุนได้หลากหลายภาคอุตสาหกรรม เมื่อใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีโซลูชันชั้นนำที่เราให้บริการลูกค้าทั่วโลก จะสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับพันธมิตรของเราในการพัฒนาความสามารถใหม่ ๆ และขยายความสำเร็จทางธุรกิจไปพร้อมกับเรา”

ตัวอย่างผู้ค้าปลีกไทย จะได้ประโยชน์จากโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ ที่รองรับการใช้งานกับลาซาด้า (Lazada) ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาลีบาบา กรุ๊ป และจะสามารถเข้าใช้งานชุดโซลูชันต่าง ๆ ตั้งแต่โซลูชันในการผสานการทำงานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ บนเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค ไปจนถึงบริการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และการตลาดที่เจาะลูกค้าเป็นรายบุคคล นอกจากนี้อาลีบาบา คลาวด์ ยังให้บริการด้านต่าง ๆ กับบริษัทด้านการเงินของไทย เช่นบริการที่รองรับเทคโนโลยี eKYC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการยืนยันพิสูจน์ตัวตนและการทำความรู้จักลูกค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บริการที่รองรับการหาลูกค้าใหม่ผ่านอุปกรณ์โมบาย และโซลูชันการให้สินเชื่อดิจิทัลที่ใช้ AI เป็นต้น

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว Academic Empowerment Program ซึ่งเป็นโครงการเสริมศักยภาพทางวิชาการให้กับนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัย เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคต  ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทรัพยากรด้านคลาวด์คอมพิวติ้งฟรี รวมถึงโอกาสในการฝึกอบรม และความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นกลยุทธ์ 20 ปีของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมนวัตกรรมด้านดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 20,000 คนภายในปี พ.ศ. 2566 โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมกับอาลีบาบา คลาวด์ ในโครงการด้านนี้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและอาลีบาบา คลาวด์ เป็นการปูพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งใหม่และเรียนรู้ทักษะดิจิทัลที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อร่วมกันสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ”

อาลีบาบา คลาวด์ ยังวางแผนจะเปิดดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้ตั้งเป้าหมายจะเปิดตัวในปี พ.ศ.2565 เพื่อรองรับการเติบโตด้านคลาวด์ของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น[2] และความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีผลพวงมาจากการระบาดของโควิด-19

นายไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ขณะนี้อาลีบาบา คลาวด์ มีแผนตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นถึงความต้องการของธุรกิจไทยในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของโลก เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสำคัญต่อประเทศมากเพียงใด และประเทศจะได้ประโยชน์อะไรบ้างในระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงนี้ อาลีบาบา คลาวด์ได้ทุ่มเทเพื่อให้โซลูชันต่าง ๆ ของเราพร้อมใช้สำหรับทุกคน รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่รองรับอนาคตทางดิจิทัล”

ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ในประทศไทยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจไทยและธุรกิจจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานในระดับสากลของอาลีบาบา กรุ๊ปเอง ในด้านค้าปลีก โลจิสติกส์ Fintech สื่อและความบันเทิง และการตลาดดิจิทัล

ข้อมูลจากรายงาน BOI’s Data Center and Cloud Service in Thailand[3] ได้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2570 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะมีสัดส่วน 25% ของ GDP ของประเทศ ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญคืออีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์ต่าง ๆ เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจดิทัลทั่วโลก และเป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2567 ปัจจุบันผู้บริโภคไทยและในอาเซียนได้รับแรงจูงใจให้ใช้บริการดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กำลังปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างมาก ซึ่งจะเพิ่มความต้องการดาต้าสตอเรจและบริการดิจิทัลต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์ และอาลีบาบา คลาวด์ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเปิดดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกของบริษัทในประเทศไทยครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จตามนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทย

เกี่ยวกับอาลีบาบา คลาวด์

อาลีบาบา คลาวด์ (www.alibabacloud.com) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ให้บริการคลาวด์ครบวงจรแก่ลูกค้าทั่วโลก เช่น Elastic computing , Database,  Storage , Network & Virtualization การประมวลผลขนาดใหญ่ ความปลอดภัย บริการด้านการบริหารจัดการและแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า บริการแพลตฟอร์มที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง และ IoT และจากรายงานของ IDC ระบุว่าอาลีบาบา คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการพับลิคคลาวด์ระดับแนวหน้าของประเทศจีน โดยพิจารณาจากรายได้ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นรายได้ที่รวมถึงบริการ PaaS และ IaaS ส่วนอาลีบาบา กรุ๊ป เป็นผู้ให้บริการ IaaS ชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก และอยู่ในระดับสามของโลกจากรายงานประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ของ Gartner โดยพิจารณาจากรายได้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 

 

Comments

comments