เรื่องโจรหรือมิจฉาชีพ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่หากินกับคนไทยนั้น มีมานานเป็น 10 ปี โจรรู้จักปรับตัว และมีพัฒนาการ ทั้งอาศัยเทคโนโลยี และฝึกฝนพัฒนามุขต่าง ๆ มาหลอกล่อเหยื่อ พยายามสร้างเรื่องราวต่าง ๆ นาๆ เพื่อเป้าประสงค์สุดท้ายให้เหยื่อเคลิ้ม (บางกรณีก็ตกใจ) และเชื่อตาม จนต้องเสียเงินเสียทองโอนเงินให้ สร้างความเสียหายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างความเดือนร้อนรำคาญ รบกวนความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก ปัญหานี้ไม่อาจถูกแก้ให้จบลงง่าย ๆ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกส่วนทั้งทางรัฐ ผู้รักษากฎหมาย ผู้ให้บริการและประชาชนทุกคนที่จะช่วยกันให้ข้อมูล แจ้งความดำเนินคดี ติดตาม สืบสวน เพื่อหาปลายทางเข้าปราบปรามให้ได้รับโทษทางกฏหมาย

รูปแบบหรือช่องทางในการลงมือของมิจฉาชีพ

มิจฉาชีพ หรือแก๊งค์คอลเซนเตอร์นั้นมาในหลายรูปแบบ และหน่วยงานที่ถูกอ้างบ่อย ก็เช่น อ้างตัวเป็นตำรวจ เป็นขนส่ง เช่น DHL หลอกการลงทุนในเหรียญคริปโต อ้างชื่อ กสทช. หรือแม้กระทั่งหน่วยงานศาลยุติธรรมก็ไม่เว้น

ปัจจุบันมิจฉาชีพใช้ช่องทางหลักในการกระทำความผิดอยู่รูปแบบ

1 การส่งข้อความ หรือ SMS โดยหมายเลขต้นทางนั้นอาจแสดง CallerID เป็นเลขหมายใดๆ ก็ได้ อาจเป็นเบอร์ภายในประเทศที่สุ่มขึ้นมา เพราะคนร้ายใช้เครื่องมือที่เป็น Internet Call หรือ VOIP สามารถกำหนดเลขหมายให้ไม่ซ้ำกับฐานข้อมูลของ Application ป้องกันแจ้งเตือนอย่าง Who’s Call ทำให้หลุดรอดตัวกรอง (filter) ที่ทางผู้ให้บริการปิดกั้นไว้เบื้องต้นได้ ดังนั้นหากพบข้อความต้องสงสัย ก็ไม่ควรตอบกลับหรือคลิกลิ้งค์ใดๆที่แนบมาด้วย

2 การโทรหาเหยื่อโดยตรง พบได้บ่อยจากแก๊งค์คอลเซนเตอร์ที่มีฐานที่ตั้งอยู่แถวประเทศเพื่อนบ้าน ใช้วิธีการสุ่มเบอร์ที่อยู่ในไทยไปเรื่อย ๆ อาจใช้ความพยายามวันนึงเป็นหลักร้อย หรือพันเลขหมายที่กระหน่ำโทรมาปฎิบัติการเพื่อให้ได้ยอดจำนวนเหยื่อที่หลงเชื่อเสียทรัพย์จนสำเร็จ โดยหมายเลขเรียกเข้าก็เช่นเดียวกับ SMS แสดงเป็นอะไรก็ได้เพราะเป็นระบบ VOIP / Internet Call 

3 การโทรหาเหยื่อโดยใช้ Bot ปฎิบัติการ หากเหยื่อรับสาย ก็จะแจ้งให้กด  1 2 3 แล้วโอนสายให้แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์รับช่วงดำเนินการหลอกตุ๋นต่อ หรือถ้าเหยื่อไม่รับสายหรือตัดสายทิ้งก็จะส่ง SMS แนบลิ้งค์มาให้ทำรายการต่อทันที

กลยุทธที่มิจฉาชีพชอบใช้

เรื่องที่จะทำให้เหยื่อตกใจและเคลิ้มตามจนเสียทรัพย์ได้มีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่

1 ความโลภ (ถูกรางวัล) มักเป็นข้อความหรือการโทรมาแจ้ง ว่าท่านเป็นผู้โชคดี อย่างนั้นอย่างนี้ ต้องชำระค่าภาษีหรือค่าขนส่งสินค่าเป็นจำนวนนึงก่อน 

2 สร้างความตกใจ ตื่นกลัวให้ปลายทางผู้รับสาย เช่น ท่านเป็นผู้ต้องหาฐาน …. แล้วแต่จะคิดขึ้นมาจนทำให้เหยื่อลนลาน และอยากแสดงความบริสุทธิ์ใจออกมา ก็สบช่องทางนำไปสู้เป้าหมาย อาจมีการสร้างเรื่องโดยใช้การโอนสายเพื่อสร้างขั้นตอนให้เหยื่อเชื่อว่าเป็นจริง และสุดท้ายยอมโอนเงินแลกกับการไม่ตกเป็นผู้ต้องหา 

3 เรื่องเซ็กส์ หรือ 18+ เช่น ใช้หญิงสาวหน้าตาดีมาหลอกให้โอนเงิน ใช้เรื่องลามกอนาจาร มาให้เหยื่อเคลิ้มคลิก  Link เพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลเพื่อคนร้ายจะได้นำไปใช้ประโยชน์ทำธุรกรรมทางการเงินโดยที่ผู้เสียหายอาจไม่ทันรู้ตัว

เป้าหมายมิจฉาชีพ 

มีแค่อย่างเดียวในตลอด 10 ปีที่ผ่านมาคือหลอกให้เหยื่อโอนเงินให้ หรือได้ไปซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินอันจะทำให้เหยื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินไปโดยไม่รู้ตัว

การปฎิบัติเมื่อได้รับสายหรือข้อความที่น่าสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ

อันดับแรกต้องตั้งสติ ดูว่าเลขหมายที่โทร หรือ ส่งข้อความเข้ามานั้น เป็นเลขหมายที่เรารู้จักหรือไม่ หากไม่รู้จักก็ควรที่จะไม่รับสาย หรือมีความสงสัยและจำเป็นต้องรับก็ควรวางสายทันทีหากพอจะคาดเดาได้ว่าสายเหล่านั้นเป็นพวกมิจฉาชีพโทรมา หากเป็นข้อความ ก็ไม่ควรตอบกลับหรือเข้าไปคลิกลิ้งค์ใด ๆ ที่แนบมา หากพลาดท่า เสียรู้โอนเงินให้คนร้าย ต้องไปแจ้งความดำเนินคดีและไม่ใช่การบันทึกประจำวัน จะได้มีการดำเนินการกับบัญชีโจร และตรวจสอบเส้นทางการเงินเพื่อหาว่าเงินออกปลายทางสุดท้ายไปสู่ใคร ไม่ปล่อยทิ้ง แม้จะต้องเสียเวลาบ้างแต่ท่านก็ควรจะต้องทำเพื่อร่วมกันปราบปรามให้สืบหาต้นตอนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ 

ลูกค้า AIS อุ่นใจ แจ้งเรื่องให้ทาง AIS จัดการมิจฉาชีพได้ง่าย ๆ

AIS นับเป็นผู้ให้บริการรายเดียวในปัจจุบันที่ใส่ใจและตั้งใจดูแลลูกค้าในเรื่องนี้แบบเอาจริงเอาจัง ซึ่งโดยปกติก็มีความร่วมมือกับทาง กสทช. ในการบล๊อคเบอร์และส่งข้อมูลที่ได้รับรายงานจากลูกค้าไปอัพเดทฐานข้อมูลเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการเอาผิดกับกลุ่มมิจฉาชีพเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เท่านั้นไม่เพียงพอ เพราะเหตุก็ยังเกิดอยู่เป็นจำนวนมากทุกวัน ล่าสุดเพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นช่องทางที่จะทำให้การแจ้งเหตุนั้นมีขั้นตอนที่ง่าย ลูกค้า AIS ทุกคนเข้าใช้บริการได้ทันทีไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านทาง 1185  หรือ AIS Spam Report Center ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานเชิงรุก โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อดำเนินการขั้นเด็ดขาดต่อกลุ่มมิจฉาชีพ

ขั้นตอนการแจ้งเหตุต่อ AIS Spam Report Center 1185

ทันทีที่ได้รับสายจากมิจฉาชีพ หรือข้อความต่าง ๆที่ต้องสงสัย ให้จดจำหรือ copy ข้อมูลเบอร์โทร รายละเอียดในข้อความที่ได้รับ แล้วโทรติดต่อ 1185 (โทรฟรี 24 ชั่วโมง) จากนั้นจะมีเมนูการทำงานให้เราเลือกดังนี้

กด 1 กรณีแจ้งเบอร์โทรมิจฉาชีพ >> กรอกเบอร์ที่เราใช้งาน >> ยืนยันรหัส OTP >> กดหมายเลขมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามา >> ระบบรับเรื่องยืนยันข้อมูลรับแจ้งและดำเนินการต่อให้พร้อมแจ้งผลกลับภายใน 72 ชั่วโมง

กด 2 กรณีแจ้ง SPAM SMS หลอกลวง >> กรอกเบอร์ที่เราใช้งาน >> ยืนยันรหัส OTP >>  ระบบจะส่ง Link ผ่าน SMS ให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมผ่านบริการ AI Chatbot >> เปิด Link และกรอกข้อมูลเช่นรายละเอียดเบอร์ผู้ส่ง SMS พร้อมรายละเอียดที่ปรากฎใน SMS >> ระบบรับเรื่องยืนยันข้อมูลรับแจ้งและดำเนินการต่อให้พร้อมแจ้งผลกลับภายใน 72 ชั่วโมง

สรุป

การป้องกันที่ดีที่สุด คือช่วยกันฉีดวัคซีน นั่นคือการรู้เท่าทันมิจฉาชีพ และเข้าใจวิธีการของคนร้าย รู้เป้าประสงค์ของคนร้ายว่าต้องการทรัพย์สิน นอกจากความรู้เท่าทันที่จะเป็นเกราะป้องกันชั้นดีแล้ว การทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีช่วยกันรายงานหรือ report case ที่เกิดขึ้นกับตนเองให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ซึ่งเป็นนิมิตรหมายอันดีในวงการโทรคมอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่ AIS ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย มีความตั้งใจจริงจังในการอำนวยความสะดวก ประสานงานกับทางราชการที่เกี่ยวข้อง สร้างความอุ่นใจให้ลูกค้าได้ใช้งานเครือข่ายได้อย่างปลอดภัย นับเป็นตัวอย่างของความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วยกันปราบปราม จัดการมิจฉาชีพให้ไม่มีที่ยืนจนพ่ายแพ้อย่างราบคาบไปในที่สุด

#สแปมมิจฉาชีพ #เบอร์มิจฉาชีพ #สายด่วนมิจฉาชีพ #มิจฉาชีพdhl #สายด่วนAIS #แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ #แก็งคอลเซ็นเตอร์

Comments

comments